การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกของชุมชนกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Authors

  • ศศิเพ็ญ พวงสายใจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุขุม พันธุ์ณรงค์ นักวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิมลพรรณ บุญยะเสนา นักวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฆนธรส ไชยสุต นักวิจัย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในด้านการผลิตด้านการตลาด และด้านผลิตภัณฑ์ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน และเพื่อก่อเกิดระบบเครือข่ายเบื้องต้นของผู้ผลิตน้ำมันงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อการผลิตและแปรรูปบ้านสบสอย กลุ่มผลิตน้ำมันงาบ้านทุ่งกองมู และกรมศิลปาชีพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าโป่งแดง การวิจัยประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่ม โดย swot analysis การรวบรวมประเด็นปัญหาและการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพของกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มสบสอยมีจุดแข็งในด้านการผลิตที่เน้นวิถีธรรมชาติโดยใช้พลังน้ำในการผลิต มีผู้นำที่มีความสามารถมีความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันงาบ้านทุ่งกองมู มีจุดแข็งในด้านการรวมกลุ่มกัน เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการรับซื้อวัตถุดิบจากสมาชิกในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ส่วนกลุ่มศิลปาชีพมีจุดแข็งในด้านการเป็นหน่วยงานของศูนย์ศิลปาชีพ ในด้านจุดอ่อนของทั้ง 3 กลุ่มมีเหมือนเหมือนกันคือการบริหารจัดการนั้นขึ้นอยู่กับผู้นำกลุ่ม ขาดความรู้ในด้านการผลิตให้ได้มาตรฐานขาดความรู้ทางด้านการตลาดและการออกแบบผลิตภัณฑ์และขาดความรู้ในการกำหนดราคาซึ่งเห็นได้จากการกำหนดราคาน้ำมันงาในบรรจุภัณฑ์เหมือนกันแต่ทั้ง 3 กลุ่มตั้งราคาแตกต่างกันในด้านอุปสรรคของทั้ง 3 กลุ่มที่เป็นข้อจำกัดในการส่งออกสินค้าก็คือการขนส่งผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในขวดแก้วเกิดการแตกของขวดบรรจุ ความห่างไกลของตัวจังหวัดทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นนอกจากนั้นแล้วก็มีปัญหาเรื่องตลาดของน้ำมันงายังไม่กว้างขวาง ผู้บริโภคไม่ทราบถึงประโยชน์ของการใช้ส่วนโอกาสของแต่ละกลุ่มนั้นควรจะเน้นไปที่การท่องเที่ยวโดยการขาย ผลิตภัณฑ์ให้ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว ซึ่งกลุ่มสบสอยมีโอกาสในการพัฒนาจากการที่ใช้เครื่องผลิตน้ำมันงาพลังน้ำในลักษณะของการใช้ภูมิปัญญา ซึ่งเป็นกรรมวิธีการผลิตที่ไม่เหมือนใคร ทำให้สามารถพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้และสามารถวางผลิตภัณฑ์ขายควบคู่ไปด้วย กลุ่มทุ่งกองมู มีโอกาสจากการที่แกนนำกลุ่มมีอาชีพหลักเป็นมัคคุเทศก์ ทำให้สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวได้ ส่วนกลุ่มศิลปาชีพนั้นจากการที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ศิลปาชีพ ดังนั้นจึงสามารถที่จะพัฒนาแหล่งผลิตให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสามารถที่จะนำสินค้าไปขายที่ศูนย์ศิลปาชีพอื่นๆได้อีกด้วย ดังนั้น การเพิ่มศักยภาพของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันงา จึงเน้นไปที่ตัวผลิตภัณฑ์ที่จะมาส่งเสริมในด้านการท่องเที่ยวทางทีมวิจัยได้เข้าไปช่วยพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพโดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้ความรู้ทางด้านการตลาด การผลิต และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่กลุ่ม ผลที่ได้จากการสนับสนุนของทีมวิจัยก็คือ ทางกลุ่มได้จัดทำแผนการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐาน ได้ส่งน้ำมันงาให้สถาบันอาหารวิเคราะห์ส่วนประกอบเพื่อนำไปทำฉลากติดกับขวดผลิตภัณฑ์ได้มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับการซื้อหาของนักท่องเที่ยว ส่วนการสร้างเครือข่ายในเบื้องต้น จะมีศูนย์ศิลปาชีพของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นหลักในการรวมตัวกันในลักษณะที่ศูนย์ศิลปาชีพเป็นแหล่งสาธิต และค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อฝึกอบรมและสาธิตให้กับกลุ่มอื่นๆต่อไป

Abstract

            This research has the objective to help development and export competitiveness improvement of Sesami oil producer groups in production, marketing and product line aspects through community participatory learning process which can lead to the initial creation of network system among such producers. Three community group were covered including Bar Sob Soy Siving Cooperative, Ban Tung Kong Mu Sesami Producer Group and Ban Pong Daeng Women’s Occupational Arts Group. Data were obtained by direct interview and SWOT analysis was performed to identify issues and potentials for development. Ban Sob Soy Group exhibits its strength in addressing natural means in production process by exploiting hydro-energy, and having creative group leader, Ban Tung Kong Mu Group is strong in the aspect of group action by buying raw materials from its members at relatively higher price than market level. The Occupational Ants Group has its strength from being a part of Occupational Arts Center. All three group share similar weakness in the sense that administration and management are almost entirely under the charge of group leader; there is the lack of knowledge concerning production for uniform standard, marketing, product designs, and price determination for example Sesami oil in the same bottle size is priced differently by the three groups. Their common problems in exporting business lies in fragility of glass container during transportation, and the high transportation cost due to geographic remoteness of the Province. Furthermore, market is still quite narrow because consumers do not realize the usefulness of Sesami oil. Opportunity of each group is opened in tourism industryfor at least the chance to sell the products to visitors. Ban Sob Soy Group is unique in its natural energy driven production process based on local knowledgy and thus can be promoted as a tourist attraction spot with the products being sold as souvenir. Ban Tung Kong Mu Group’s leader also has his main occupation as local guide and thus canbe a catalyst for products selling to visitors. The Occupational Art Group has an advantage for being a branch of the main Center for development as a tourist attraction spot and for selling its products at other branches of the Center Therefore, products for promotion in tourism business has become a promising candidate for enhancing the potential of these sesame oil producers groups, The research team has provided them the development assistance by arranging experts to educate the group members about marketing, production, and packaging, consequently, these groups became able to formulate product plans to assure standard quality output, send sample to the Food Institute for analysis to obtain certified statement in product labeling, and get a new design for container in the form appropriate as souvenir. For the building of network at theinitial stage, Mae Hong Son’s Occupational Arts Center shall be the core organizer for such attempt by acting as a demonstration and product development research agent as well as arranging training and demonstration activities for other interested groups.

Downloads