ผลิตภาพและผลตอบแทนของพืชเศรษฐกิจบางชนิดในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้ภาวะความเสี่ยงด้านผลผลิตและราคา

Authors

  • เบญจพรรณ เอกะสิงห์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร และศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กุศล ทองงาม ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศุภกิจ ศิลป์ชัยกุล ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นฤมล ทินราช ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธันยา พรหมบุรมย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ประเมินความเสี่ยงของการได้ผลตอบแทนจากการผลิตพืชเมื่อเกิดความไม่แน่นอนด้านผลผลิตและราคาที่เกษตรกรได้รับของพืชเศรษฐกิจสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ 7 ชนิดได้แก่ ข้าวเจ้านาปี ข้าวเหนียวนาปี ถั่วเหลืองฤดูแล้ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูฝน หอมหัวใหญ่ หอมแดง และกระเทียม โดยหารูปแบบการกระจายผลผลิต และราคาตามโอกาสที่น่าจะเกิดขึ้น (probability) จากโปรแกรม Best Fit และ @Risk ข้อมูลผลผลิตได้จากการเก็บข้อมูลภาคสนาม ปีการผลิต 2542 - 2545 จำนวน 462 ตัวอย่าง ส่วนข้อมูลราคาเป็นข้อมูลทุติยภูมิราคาจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่รายเดือนย้อนหลัง 5 ปี (ปีการผลิต 2541 - 45) ผลการวิเคราะห์ พบว่า หอมหัวใหญ่ กระเทียม และหอมแดง เป็นพืชที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนทั้งในรูปของผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสดและกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่สูงคือเฉลี่ย 9,500 - 19,000 บาท/ไร่ และ 5,000- 16,000 บาท/ไร่ตามลำดับ แต่มีโอกาสขาดทุนเป็นมูลค่าสูงมากที่สุด คือระหว่าง 8,000-10,000 บาท/ไร่ส่วนถั่วเหลือง ข้าวเหนียวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูฝน และข้าวเจ้านาปี เป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ โดยมีโอกาสให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสดเฉลี่ย 800 - 2,300 บาท/ไร่ กำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณ 120 - 960 บาท/ไร่ แต่มีโอกาสที่จะขาดทุนเฉลี่ยค่อนข้างต่ำด้วย คือประมาณ 340 บาท/ไร่ สูงสุดไม่เกิน 2,500 บาท/ไร่ และเมื่อวิเคราะห์หาโอกาสเกิดการขาดทุนจากการผลิตพืชแต่ละชนิด พบว่า ถั่วเหลืองฤดูแล้ง มีโอกาสขาดทุนสุทธิเหนือต้นทุนทั้งหมดมากที่สุด คือร้อยละ 64 ส่วนหอมแดงมีโอกาสขาดทุนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดมากที่สุด คือประมาณร้อยละ 26 จากผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่าพืชที่เกษตรกรปลูกแต่ละชนิดมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลตอบแทนจากการผลิตมากน้อยแตกต่างกัน การนำมาตรการต่างๆมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวด

Abstract

            In this study, risk were evaluated using variations of returns, output and prices obtained by farmers in the production of seven important cash crops in Chiang Mai, namely, glutinous and non- glutinous rice, dry-season soybean, wet season maize, onion, shallot and garlic. Best-Fit and @Risk programs were employed to find patterns of output and price distribution using probability of occurrences. Output data were obtained from field survey during 1999-2002 production years. A total of 462 farmers were interviewed. Price data were monthly farm gate prices in Chiang Mai for the past 5 years (1998-2002 production years) and were obtained from secondary sources. The study results showed that onion, garlic and shallot could yield high gross margin and net profits averaging 9,500 – 19,000 baht per rai for gross margin and 5,000 – 16,000 baht per rai for net profits. They, however, could yield as high levels of loss as 8,000 – 10,000 baht per rai. Soybean, glutinous rice, maize and rice yielded low returns with the gross margin averaging 800 – 2,300 baht per rai and net profits averaging 120 – 960 baht per rai. They could yield losses but at low level approximately 340 baht per rai or at most 2,500 baht per rai. In the assessment of the probabilities of loss incurrence, it was found that dry-season soybean had the highest probability (64 percent) to have negative net profits while shallot had the highest probability (26 percent) to have negative gross margin. The research results showed different risks existed in different crops and to find measures to mitigate farmers’ risks is of high priority.

Downloads