ความเต็มใจจ่ายของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย สำหรับโครงการวิจัยเพื่อการรักษาการเจ็บป่วย เนื่องมาจากการสูบบุหรี่ กรณีศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • ณภัทร ตันเส้า เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เสถียร ศรีบุญเรือง รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณิต เศรษฐเสถียร รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทิพวรรณ ประภามณฑล นักวิจัย ประจำสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเพื่อรักษาการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่เป็นโครงการที่หาวิธีการรักษาโรคอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่จากโครงการนี้เกิดขึ้นได้จริงและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เจ็บป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยแต่เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง ดังนั้นหากโครงการนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้จริงควรที่จะให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยในโลกอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการด้วย ดังนั้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหามูลค่าความเต็มใจจ่ายของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยในตลอดจนวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าความเต็มใจจ่ายดังกล่าว ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยให้ทางการแพทย์มีต้นทุนจำนวนหนึ่งที่จะสนับสนุนให้วงการทางการแพทย์หันมาพัฒนาประสิทธิภาพของยารักษาการเจ็บป่วย ตลอดจนวิธีการรักษาและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาจากการสูบบุหรี่ให้ดีขึ้นได้ การวัดมูลค่าความเต็มใจจ่ายใช้วิธีการคอนทินเจนท์ (Contingent Valuation Method : CVM) โดยใช้รูปแบบบัตรรายจ่าย (Payment Card : PC) และใช้สมการถดถอยในการประมาณมูลค่าความเต็มใจจ่ายโดยให้มูลค่าความเต็มใจจ่ายขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่โดยสุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยจำนวน 300 คนและผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน 300 คน ซึ่งได้ในโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งได้ผู้ป่วยจาก โรงพยาบาลรัฐบาล 230 คน ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเอกชน 70 คน ผู้ดูแลผู้ป่วยโรงพยาบาลของรัฐ 233 คน และผู้ดูแลผู้ป่วยโรงพยาบาลเอกชน 67 คน

ผลการศึกษาจากสมการถดถอย พบว่า มูลค่าความเต็มใจจ่ายมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้น ระดับการศึกษาสูงขึ้น รายได้ครัวเรือนมากขึ้น จำนวนครั้งที่มารับการรักษามากขึ้น ระยะเวลาที่เป็นโรคมากขึ้น ระดับผลกระทบที่ได้รับจากการเจ็บป่วยมากขึ้นและเป็นผู้ป่วยในตลอดจนเป็นผู้ป่วยที่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท อีกทั้ง เป็นผู้ป่วยที่มีวิธีการจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยใช้บัตรทอง สิทธิข้าราชการ และบัตรผู้สูงอายุ นอกจากนี้มูลค่าความเต็มใจจ่ายลดลง เมื่อเป็นผู้ป่วยที่ประกอบอาชีพค้าขายโดยกลุ่มธุรกิจส่วนตัวและอาชีพรับจ้าง สำหรับการประมาณมูลค่าความเต็มใจจ่าย พบว่า ผู้ป่วยมีมูลค่าความเต็มใจจ่ายเท่ากับ 862.20 บาทต่อคนต่อเดือน

ผลการศึกษาจากสมการถดถอยของผู้ดูแลผู้ป่วย พบว่า มูลค่าความเต็มใจจ่ายจะมีมากขึ้นเมื่อผู้ดูแลผู้ป่วยมีรายได้ครัวเรือนมากขึ้น เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยใน และเป็นภรรยาหรือลูกของผู้ป่วย สำหรับการประมาณมูลค่าความเต็มใจจ่าย พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยมีมูลค่าความเต็มใจจ่ายเท่ากับ 649.31 บาทต่อคนต่อเดือน

จากผลการศึกษาสามารถประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายโดยรวมของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยมีค่าเท่ากับ 4,566.98 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 4.66 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในจังหวัดเชียงใหม่มูลค่าความเต็มใจจ่ายที่ได้จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า โครงการวิจัยเพื่อรักษาการเจ็บป่วยเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยของภาครัฐมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการในอนาคตเนื่องจากว่าผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยมีความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อสนับสนุนโครงการนี้ โดยควรมีหน่วยงานด้านสาธารณสุขของภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบ

Abstract

            The research program has an attempt to identify approaches to treat smoking related illness. This program, if materialized, will be tremendously useful for both patients and caregivers; but it needs substantial financial resource to run. To enable the actual operation of the program, part of the running budget should come from the contribution of patients and caregivers. This study aims to valuate the willingness to pay of patients and caregivers as well as analyze the factors influencing such willingness to pay. The resulted financial contribution will help provide a capital endowment for the medical community to use in research and development programs concerning the greater effectiveness of medicines, alternative treatments and medical equipments for curing smoking related illness. The willingness to pay is measured by Contingent Valuation Method(CVM) with the use of payment card technique. A regression function is estimated to identify the relationship between the levels of willingness to pay and various determining factors. The present research is confined to the case of Chiangmai Province. The informants are 300 samples of patients and 300 samples of caregivers which can be further broken down into 230 patients in state hospitals, 70 patients in private hospitals; 233 caregivers in state hospital and 67 caregivers in private hospitals.

            The finding from regression analysis indicate the positive relationship between willingness to pay and the patient’s age, educational level, family income frequency of visitation to hospital, duration of illness, and severity of illness. Those patients who have higher willingness to pay are also related to the factors of being an in-patient, private company employee, and making medical payment through gold card, civil servant privilege, and senior citizen card. The level of willingness to pay will be lower if the patients have their occupation in trading, private business, or wage employment. The estimated willingness to pay is 862.20 baht per patient on the average.

            The willingness to pay offered by caregivers will be higher if the caregiver has higher family income, is caring for in-patient, and is related to the patient as wife or offspring. The estimated willingness to pay of a caregiver is 649.31 baht per month on the average.

            The estimated individual’s willingness to pay from the regression results can be calculated for the aggregate value of willingness to pay of all patients and caregivers which came out to be 4,566.58 million baht per year, representing about 4.66 % of Chiang Mai’s Gross Provincial Product. The findings from this study suggest the possibility that in the future. Both patients of smoking related illness and their caregivers are willing to contribute fund for this program and a government agency in public health area should be assigned to take responsibility in mobilizing such contribution.

Downloads