ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมใบยาสูบขนาดเล็กในประเทศไทย
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เพื่อวัดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมใบยาสูบขนาดเล็กในประเทศไทย ใช้วิธีการศึกษาอยู่ 2 วิธี ได้แก่วิธีการ Data Envelopment Analysis (DEA) และวิธีการ Stochastic Frontier Model โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างชาวไร่ยาสูบในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ปีการเพาะปลูก 2545 - 2546 จำนวนทั้งสิ้น 307 ราย จากการศึกษาทั้ง 2 วิธีให้ผลลัพธ์ไม่ต่างกัน โดยพบว่า โรงบ่มของชาวไร่ยาสูบส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคและประสิทธิภาพทางราคาอยู่ในระดับสูง ส่วนประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าความไม่มีประสิทธิภาพทางเทคนิคในการบ่มใบยาสูบขนาดเล็ก พบว่า จำนวนแรงงานในการคัดใบยาแห้ง จำนวนแรงงานเสียบใบยา จำนวนแรงงานในการบรรจุใบยาเข้าเตาบ่ม ปริมาณและประเภทเชื้อเพลิงที่ใช้ เป็นปัจจัยที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพทางเทคนิคในการบ่มใบยาสูบลดลง
Abstract
This study is to measure the economic efficiency of small scale tobacco industry in Thailand. There are two methods by using the Data Envelopment Analysis (DEA) and Stochastic Frontier Model. The sample size covers 307 farmers. They were gathered from three different areas in northern Thailand during the crop year of 2002/03. The research results obtained from two methods showed no difference. It was also found that the majority of tobacco farmers had considerably high scores of technical and allocative efficiency, but moderate degree in terms of economic efficiency. The research results regarding factors affecting technical inefficiency of curing process found that the number of labor used to select tobacco leaves, the number of labor used to clip the leaves, the number of number used to desiccate the tobacco leaves, the quantity and type of fuel used were the variables that contributed to the decrease in efficiency.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่