ความพอเพียงและประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจของการใช้น้ำชลประทานในภาคเหนือตอนบน
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ได้ประเมินความพอเพียงและประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจในการน้ำชลประทานของโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย รวม 5 โครงการ คือ ชลประทานแม่แตง แม่กวง แม่แฝก แม่งัด แม่ปิงเก่า และแม่ลาว ผลการศึกษาพบว่า ทุกโครงการมีแนวโน้มการใช้พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกพืชลดลง มีการใช้พื้นที่ปลูกพืชจริงในแต่ละปีต่ำกว่าเป้าหมายการใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรที่แต่ละโครงการกำหนดไว้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรมและบริการอื่น รวมทั้งปล่อยทิ้งว่าง ในขณะที่ปริมาณน้ำชลประทานที่ปล่อยเพื่อการเกษตรวัด ณ ระดับหัวงานโดยรวมของแต่ละโครงการก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ดังนั้นเมื่อคิดเฉลี่ยปริมาณน้ำชลประทานต่อไร่ พบว่าปริมาณน้ำที่ปล่อยยังเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำเพื่อผลิตพืชจริงในแต่ละปี ส่วนผลการประเมินมูลค่าผลผลิตพืชสุทธิที่ได้จากพืชอายุสั้นและไม้ผลเฉลี่ยต่อปริมาณน้ำชลประทานที่แต่ละโครงการปล่อย และต่อหน่วยค่าใช่จ่ายการดำเนินการที่แต่ละโครงการปล่อย แต่แตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย เช่น อายุการใช้งานโครงการ ลักษณะและขนาดโครงการ และการให้บริการของโครงการที่แตกต่างกัน
ในส่วนของต้นทุนการใช้น้ำ แม้ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้จ่ายค่าน้ำชลประทานเพื่อใช้เพาะปลูกโดยตรง แต่จากการศึกษาภาคสนาม พบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายผันแปรส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำน้ำไปใช้ ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้แตกต่างกันตามลักษณะโครงการหรือแหล่งน้ำที่เกษตรใช้ โดยพบว่า เกษตรกรที่ใช้น้ำจากชลประทานขนาดใหญ่ และจากฝายหรืออ่างเก็บน้ำทั้งขนาดกลางและเล็ก มีต้นทุนผันแปรเพื่อการนำน้ำไปใช้ในการปลูกพืชอายุสั้นค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 40 บาท/ไร่ในฤดูฝน และ60-80 บาท/ไร่ในฤดูแล้ง เมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรที่ต้องใช้น้ำจากบ่อบาดาลน้ำตื้น บ่อบาดดาลเพื่อการเกษตรและจากสถานีสูบน้ำไฟฟ้า ที่มีค่าใช้จ่ายผันแปรอยู่ระหว่าง 280-400 บาท/ไร่ กรณีพืชอายุสั้น และประมาณ 600 บาท/ไร่ ในกรณีเป็นไม้ผล
Abstract
In this study, sufficiency and economic efficiency of irrigation water use in 5 medium and large-scale irrigation projects in Chiang Mai, Lam Phun and Chiang Rai was evaluated. These projects were Mae Taeng, Mae Kuang, Mae Faek-Mae Ngud, Mae Ping Kao and Mae Lao Irrigation projects. It was found that in all projects the trend of cropping areas was declining. Actual planted areas were lower than targets both in the wet and dry seasons. The seasons for such declining included residential, industrial, other services and fallow land use. This corresponded to a decline in volume of irrigation water supplied by each project. When calculating the volume of irrigation water per rai, it was found that the water was sufficient to crop water requirement in each year. Examining average gross value of annual and fruit tree crop production against the amount of water supply and the projects’ operating costs revealed that in each year, all projects were worth their costs. However, the differences in the benefit-cost ratio were due to many factors e.g. project life, type, scale and services supplied.
Even though farmers do not pay irrigation water fees directly but from the field survey, it was found that farmers incurred variable costs in water use. These costs variable according to the type of irrigation projects and sources of water. Farmers who used water from large-scale irrigation projects, weirs and small and medium-sized water reservoirs had lower variable costs in growing annual crops. About 40 bath per rai was the cost in the wet season and 60-80 bath per rai was that in the dry season. Farmers who used water from shallow and artesian wells or from electric water pumping stations had to pay 280-400 bath per rai for the annual crops and about 600 bath per rai for perennial crops.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่