การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมหัตกรรมพื้นบ้าน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • สาคร กือเจริญ อาจารย์ ประจำคณะมนุศาสตร์และสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคราม
  • วิมล อารยะรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคราม

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมหัตกรรมพื้นบ้าน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์สถานภาพปัญหาและอุปสรรคและความต้องการของผู้ประกอบการเศรษฐกิจชุมชนทางด้านการผลิต การตลาด และการเงิน และเพื่อสำรวจพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตกรรมพื้นบ้านของผู้ซื้อโดยมีพื้นที่ในการศึกษา 2 หมู่บ้าน คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแม่แพง ตำบลแม่แพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคราม และกลุ่มหัตกรรมเหล่าพัฒนา ตำบลเหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม และสัมภาษณ์พฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตกรรมพื้นบ้านจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 598 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า

            กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแพง จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2521 และในปี พ.ศ. 2547 ได้พัฒนามาเป็นวิสาหกิจชุมชน กลุ่มมีปัญหาในด้านการผลิตคือผลิตภัณฑ์เป็นเชื้อราและเรื่องสีที่ไม่ได้มาตรฐานและงบประมาณในการผลิตมีจำนวนจำกัด มีผลิตภัณฑ์จำนวน10 รายการ ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) 5 ดาว และผลิตภัณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมและการพัฒนาของการแปรรูปผลิตภัณฑ์มีช่องทางการจัดจำหน่าย มี 2 วิธี คือ จำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงและนำไปออกร้านในการจัดแสดงสินค้า การส่งเสริมการขายมี 2 วิธี คือ  การประชาสัมพันธ์โดยอาศัยหน่วยงานราชการ และการออกร้าน ส่วนการบริหารจัดการเงินยังไม่มีการจดบันทึกที่ชัดเจน

            กลุ่มหัตกรรมเหล่าพัฒนาได้รวมตัวกันขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่จากกกที่นำมาถักแปรรูปมีมากกว่า 60 รายการ ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ทั้ง 3- 5 ดาว ช่องทางการจัดจำหน่าย มี 3 วิธี คือ สมาชิกนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง สมาชิกนำมาจำหน่ายให้กับทางศูนย์ และสมาชิกนำจากศูนย์ไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภค การส่งเสริมการขายมี 3 วิธี คือ การประชาสัมพันธ์โดยอาศัยหน่วยงานราชการ การออกร้าน และการการทำฉลากติดกับผลิตภัณฑ์ ส่วนการบริหารการเงินยังไม่มีการจัดระบบบัญชีเพื่อควบรายรับรายจ่ายที่ชัดเจน

            พฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตกรรมพื้นบ้านของผู้ที่มาซื้อพบว่า โดยรวมมีการใช้ผลิตภัณฑ์เสื่อ โดยมีที่มาจากการซื้อเอง ผลิตภัณฑ์มีสีสัน ลวดลาย รูปแบบในเกณฑ์ดีมาก มีราคาในเกณฑ์พอดี ส่วนใหญ่รู้จัก/ใช้ผลิตภัณฑ์เสื่อ โดยทราบเพียงว่าเป็นของชุมชนทางภาคอีสาน ผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ในงานได้รับการจูงใจจากรูปแบบ สีสัน และลวดลายของผลิตภัณฑ์

Abstract

            Analysis of Strategies for Strengthening the Local Handicraft Industry in the Northeast of Thailand aims to analysis status, problems, needs of local entrepreneurs in terms of producing, marketing, and financing and also behavioral survey and decision making of purchasing the local handicraft products of buyers. The scope of study is in two villages, where are the agricultural housewife group of Baan Peang, Peang District, Amphur Gosumpisai, Mahasarakram, and the handicraft group of Loapattana, Loapattan District, Amphur Namwha, Nakrompranom. Approximately, 598 people of a sample group were interviewed about their behaviors and decision making of purchasing the local handicraft. The statistic of analyzing data is a percentage and a mean.

            The result of research illustrates that the agricultural housewife group of Baan Peang was established in 1977 and then it developed to be an entrepreneurial community in 2004. The problems of this group are contaminated (mold) products, no standard of color, and limitation of budget. There are 10 products, which are five stars OTOP, industrial standard products and development of transforming products. The distribution channels of the group are to sell directly and to display at a fair or an exhibition. The promotions of selling are making the public relation by government sectors and display products at market. In terms of financing administration is not recorded obviously.

            The handicraft of Loapattana group was set up in 1974. There are more 60 types of transforming products from the read mat which standardize three or five stars OTOP. The distribution channels of product have 3 methods. The first one is a member of this group sells products direct to his customer. Next, a member sells his product to Loapattana group and the last one is a member sells products of Loapattana group to customers. Three ways of promoting product are to make a public relation by government sectors, to display products at market and to label products. The financial administration is not clear for an accounting system in order to control revenue and expenditure.

            The behavior and decision making of purchasing the local handicraft of buyers indicate that they purchase products of the reed mat by themselves because of colorful products, well designed pattern and reasonable price. Most customers know and utilize this product because it is made by the Northeast community and they satisfy with its design, color, and pattern.

Downloads