การวิเคราะห์รายจ่ายของนักท่องเที่ยวในเทศกาลลอยกระทงจังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • อัญชลี นัสสาสาร เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด ศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศศิเพ็ญ พวงสายใจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์ รองศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์รายจ่ายของนักท่องเที่ยวในเทศกาลลอยกระทง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาสามประการ คือ เพื่อศึกษารูปแบบการใช้จ่ายในเทศกาลลอยกระทงของนักท่องเที่ยว ประการที่สอง เพื่อศึกษาความแตกต่างของรายจ่ายจำแนกตามลักษณะทางสังคมเศรษฐกิจของนักท่องเที่ยว และประการที่สาม เพื่อศึกษาการกระจายรายได้การท่องเที่ยวไปสู่กลุ่มธุรกิจต่างๆที่รองรับการท่องเที่ยวในเทศกาลลอยกระทง

การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ตัวอย่าง 2 กลุ่มด้วยกันคือ (1) นักท่องเที่ยวทั้งในและนอกเทศกาลลอยกระทงที่เดินทางมาร่วมงานเทศกาลลอยกระทงจังหวัดเชียงใหม่  ปี พ. ศ. 2546 ทั้งหมด 400 ตัวอย่าง ซึ่งสอบถาม 2 ช่วงคือ ช่วงในเทศกาลลอยกระทง 200 ตัวอย่าง และช่วงนอกเทศกาลลอยกระทงอีก 200 ตัวอย่าง (2) สัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงแรมและที่พักอีก 30 รายการวิเคราะห์ข้อมูลสถานวิธีคำนวณหาค่าเฉลี่ยและเปรียบเทียบสัดส่วนร้อยละและวิเคราะห์แบบจำแนกพหุ (Multiple Classification Analisis : MCA )

ผลการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่นอกเทศกาล 2,540 บาทต่อคนต่อวัน โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดคือ ค่ายานพาหนะ คิดเป็นร้อยละ 37 รองลงไปคือค่าที่พักและค่าซื้อสินค้าและของที่ระลึกตามลำดับ ส่วนนักท่องเที่ยวในเทศกาลใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 2,149 บาท พบว่าค่าพาหนะมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด รองลงไปคือค่าที่พักและซื้อสินค้าและของที่ระลึก

การศึกษาความแตกต่างของค่าใช้จ่ายจำแนกตามลักษณะทางเศรษฐกิจของนักท่องเที่ยวโดยใช้ MCA นั้น ลักษณะทางสังคมเศรษฐกิจของนักท่องเที่ยว ได้แก่ ตัวแปรทางด้านรายได้ และตัวแปรทางด้านประชากร นั่นคือ อาชีพ เพศและอายุ ผลการศึกษาพบว่า ทั้งนักท่องเที่ยวในและนอกเทศกาลตัวแปรระดับรายได้ต่อเดือนเป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 สำหรับนักท่องเที่ยวนอกเทศกาล ตัวแปรที่มีอิทธิพลอีกตัวหนึ่ง คือ อาชีพ โดยนักท่องเที่ยวนอกเทศกาลมีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือนักท่องเที่ยวที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทและเป็นแม่บ้าน ส่วนนักท่องเที่ยวในเทศกาลที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุดคือ นักท่องเที่ยวที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป

การประมาณการการจัดงานเทศกาลลอยกระทงในช่วงวันที่ 7-9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวแกจังหวัดจำนวน 641 ล้านบาทและมีรายได้เพิ่มจากปกติถึง 1 เท่าตัว โดยกระจายไปสู่ธุรกิจประเภทค่าพาหนะเดินทางมากที่สุด ประมาณ 250 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของรายได้ทั้งหมด ธุรกิจที่ได้รับรายได้รองลงมาเป็นธุรกิจประเภทค่าที่พักประมาณ 153 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 23.89 ของรายได้ทั้งหมด ธุรกิจประเภทสินค้าและของที่ระลึกเป็นธุรกิจที่มีรายได้จากการจัดงานมากเป็นอันดับ 3 ส่วนดอกไม้เพลิงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลลอยกระทงก่อให้เกิดรายได้เพียง 1.20 ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น

            ในด้านการจัดงานเทศกาลลอยกระทงนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกเทศกาลมีความพอใจในเกณฑ์ที่ดีต่อที่พัก อาหาร พาหนะ และความปลอดภัย จากการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อความประสงค์ที่จะเข้าร่วมงานเทศกาลในปีต่อไปพบว่า นักท่องเที่ยวต้องการกลับมาร่วมงานเทศกาลลอยกระทงในปีต่อไป คิดเป็นร้อยละ 90.91 ส่วนนอกเทศกาลลอยกระทง นักท่องเที่ยวที่ต้องการกลับมาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 98.30 นอกจากนั้นคาดว่าจะไม่กลับมา

Abstract

This study has three objectives: first, to investigate the pattern of expenditure of tourists during Loy Krathong Festival, secondly to determine the characteristics of tourists that influence the level of their spending and lastly to analyze tourist distribution of tourism revenue to related businesses on Loy Krathong Festival inn Chiang Mai Province.

The data for the study were collected from a structured questionnaire survey of 400 tourists during festival(200) and off festival(200). Additional information was gathered from 30 tourism businesses by means of non- structured interview. Methods of analysis used include descriptive statistics and Multiple Classification Analysis (MCA).

The research results indicated that the expenditure per person per day of non festival tourists visiting Chiang Mai averaged 2,540 baht. Local transport expenditure which accounted for 37 % of the total daily expenditure was the biggest expenditure item followed by accommodation and shopping respectively. The average expenditure of festival tourists in the sample was 2,149 baht per day. For festival tourist, transport expenditure per day which constituted 39% of total expenditure was also the largest expenditure item followed by accommodation and shopping respectively.

            The socio – economic variables used to explain the level of tourists expenditure by using MCA were the level of income and social variables (such as occupation, sex and age). Income variable is statistically significant for predicting expenditures of both festival tourists and non festival tourists at 0.1 level of significance. For non festival tourists, occupation was the other important variable. The biggest spender was the housewife group who tends to have income per month more than 20,000 baht. For the festival tourists, the biggest spender was the tourists who have average 20,000 baht per month income.

            The Loy Krathong Festival held between 7 – 9 November 2003 was estimated to earn a total revenue of 641 million baht for Chiang Mai. The increase in revenue over and above the normal of revenue earned during November is 302 million baht. The business which received the greatest benefits was transport business which earned 250 million baht (39% of the total revenue). Accommodation business reaped 153 million baht which was 23.89% of the total revenue. Souvenir business ranked third measured by earning. Fireworks, the symbol of Loy Krathong Festival, accounted for only 1.20% of the total revenue.

            Interviewed tourists were generally impressed by the accommodation, food, transportation and safety services in Chiang Mai. About 90.91% of festival and 98.30% of non festival tourists stated that they would return to attend this festival in the future and they would like to visit Chiang Mai again.

Downloads