ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • จิราภรณ์ เลิศจีระจรัส เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เดช กาญจนางกูร รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กัญญา กุนทีกาญจน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่เก็บรวบรวมด้วยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยพายัพ ซึ่งทำการส่งตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified random sampling) แยกเป็นกลุ่มตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 190 ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 78 ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 63 ตัวอย่าง และมหาวิทยาลัยพายัพ 69 ตัวอย่าง รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์โดยแบบจำลองโลจิต(logit model) โดยวิธีการประมาณภาวะความน่าจะเป็นสูงสุด (maximum likelihood estimation : MLE) และวิธี marginal effects

สำหรับปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้มีทั้งสิ้น 18 ปัจจัย ประกอบด้วย เพศของนักศึกษา สถาบันการศึกษาของนักศึกษา สาขาวิชาของนักศึกษา เงินที่นักศึกษาได้จากทางบ้านรวมถึงเงินที่เป็นรายได้อื่นๆของนักศึกษา สถานที่พักอาศัยของนักศึกษาในปัจจุบัน ช่วงระยะเวลาในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต จำนวนชั่วโมงต่อครั้งในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต ประสบการณ์ในการใช้บริการอินเทอร์เน็ต สถานที่ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต วัตถุประสงค์ของการใช้บริการอินเทอร์เน็ต บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ ประเภทของสินค้าและบริการที่ซื้อขาย ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งในการซื้อสินค้าและบริการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต วิธีการชำระเงิน หน่วยงานในการรับส่งสินค้า และการให้บริการตอบคำถามแก่ลูกค้าของเว็บไซต์

ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีเพียง 10 ปัจจัย ดังต่อไปนี้ คือวัตถุประสงค์ของการใช้บริการอินเทอร์เน็ต บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ ประเภทของสินค้าและบริการที่ซื้อขาย ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต วิธีการชำระเงิน หน่วยงานในการรับส่งสินค้า การให้บริการตอบคำถามแก่ลูกค้าของเว็บไซต์ สถานที่ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต สถาบันการศึกษาของนักศึกษา และช่วงระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต

Abstract

The purpose of this study was to examine factors affecting purchasing behavior of good and services via e-Commerce of undergraduate students in Chiang Mai province. The primary data were collected from Chiang Mai University students, Meajo University students, Chiang Mai Rajabhat University students, and Payap University students. A total of 400 observations were collected through a questionnaire using a stratified random sampling technique: 190 observations from Chiang Mai University, 78 observations from Maejo University, 63 observations from Chiang Mai Institution University, and 69 observations from Payap University. The analysis in this study employed descriptive statistics and the logit model with maximum likelihood estimates (MLE) and marginal effects method.

In this study, there were 18 explanatory variables for the model including sex, educational institution, educational department, financial support from the family and other sources of income, current residence, time-interval using the internet, length of time on the internet, place using the internet, purpose of internet using, person(s) who influence student’s decision on buying goods and services, types of goods and services, the average amount of money spent on goods and services via e-Commerce, online data security system, method of payment, shipping agency, and online customer service.

The empirical results indicated that there were ten main factors affecting purchasing behavior of goods and services via e-Commerce of undergraduate students. These main factors were: purpose of internet usage, person(s) who influence student’s decision on buying goods and services, types of goods and services, methods of payment, online data security system, shipping agency, online customer service, place using the internet, educational institution, and time-interval using the internet.

Downloads