ประสิทธิภาพทางเทคนิคของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตชลประทานจังหวัดเชียงใหม่
Abstract
บทคัดย่อ
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของเกษตรกรในที่ลุ่มภาคเหนือ ปริมาณผลผลิตข้าวในภาคเหนือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเพิ่ม พื้นที่เพาะปลูก มากกว่าการเพิ่มขึ้นของผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ รูปแบบการปลูกข้าวของเกษตรกรมี 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เพียงพันธุ์เดียว (2) การปลูกข้าวพันธุ์อื่นเพียงพันธุ์เดียว หรือ (3) ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ร่วมกับข้าวพันธุ์อื่น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ 210 รายที่อยู่ในเขตชลประทาน โดยใช้ข้อมูลปีการผลิต 2546 เพื่อทราบถึงผลการดำเนินงานของเกษตรกรว่าอยู่ห่างจากผู้ผลิตที่ดีที่สุดในแต่ละกลุ่มเพียงไร โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบ Data Envelopment Analysis (DEA) นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความไม่มีประสิทธิภาพของเกษตรกรแต่ละกลุ่มโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบ Tobit Analysis ผลการวิเคราะห์พบว่าเกษตรกรกลุ่มที่สามมีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพทางเทคนิคสูงสุด (0.80) และกลุ่มเกษตรกรกลุ่มที่หนึ่งซึ่งปลูกข้าวขาวหอมมะลิพันธุ์เดียวมีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพต่ำที่สุด (0.56) เกษตรกรส่วนมา (ร้อยละ 63) มีขนาดการผลิตเนยและผลตอบแทนต่อขนาดเพิ่มขึ้น และมีเพียงร้อยละ 14 ที่มีขนาดการผลิตที่เหมาะสม ผลการวิเคราะห์พบว่า คุณสมบัติซึ่งสะท้อนคุณภาพของตัวเกษตรกรเป็นปัจจัยที่เป็นผลต่อประสิทธิภาพทางเทคนิคของแต่ละกลุ่มได้แก่ อายุ หรือการศึกษา หรือประสบการณ์ แต่สำหรับกลุ่มที่สามมีปัญหาด้านการเงินที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพของกลุ่มลดลงด้วย
Abstract
Rice is an important crop for lowland farmers in Northern Thailand where rice output has continued to grow but from acreage expansion not from yield improvement. There are various rice varietal choices among farmers to choose either (1) solely Mail 105 or (2) other variety, or (3) Mali 105 pluses other variety. This study intend to examine the technical efficiency (TE) of 210 rice farmers in irrigated area of Chiang Mai for 2003 crop year. Data Envelopment Analysis employed in this study permits the identification of maximum technical efficiency level of each farmer group and of the difference in efficiency between individual farmers or groups and the best performer. Tobit model application also provides the results on factors determining technical inefficiency.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่