ประสิทธิภาพการผลิตของภาคเกษตรในภาคเหนือของประเทศไทย
Abstract
บทคัดย่อ
การพัฒนาการเกษตรเป็นผลจากหลายปัจจัยซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และนโยบายของภาครัฐ ที่ส่งผลกระทบกับโครงสร้างการผลิตและประสิทธิภาพทางการเกษตร บทความนี้นำเสนอผลการประเมินประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรในภาคเหนือของประเทศไทย ในช่วงปีพ.ศ. 2520 ถึง 2542 จากเขตเกษตรเศรษฐกิจในภาคเหนือโดยใช้วิธีวิเคราะห์ Cointegration and error correction mechanism ร่วมกับการวิเคราะห์ฟังก์ชันการผลิตแบบ stochastic frontier ผลการวิเคราะห์ พบว่า ระดับประสิทธิภาพการผลิตภาคการเกษตรของภาคเหนือมีค่าเฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 82.20 เขตเกษตรเศรษฐกิจที่ 13 มีระดับประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด ร้อยละ 91.01 ต่อปี ขณะที่เขตเกษตรเศรษฐกิจที่ 11 มีค่าระดับประสิทธิภาพการผลิตต่ำสุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 71.98 อัตราการเติบโตของผลผลิต ส่วนใหญ่เป็นผลเนื่องมาจากการเจริญเติบโตของผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวม คิดเป็นร้อยละ 73.19 และเป็นผลเนื่องมาจาก ความเจริญเติบโตจากการใช้ปัจจัยการผลิตโดยรวม ร้อยละ 26.81
การเติบโตของผลผลิตภาคการเกษตรที่เป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านประสิทธิภาพการผลิตและการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนั้น พบว่า การเปลี่ยนแปลงด้านประสิทธิภาพการผลิตมีส่วนช่วยให้เกิดการขยายตัวของผลผลิตภาคการเกษตรเฉลี่ยเพียงร้อยละ 4.21 ต่อปี ขณะที่ผลผลิตที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสูงถึงร้อยละ 68.89 ต่อปี ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ทำให้อัตราการเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ได้แก่ แรงงานภาคเกษตร พื้นที่เพาะปลูก และสิ้นเชื่อเพื่อการเกษตร โดยส่งผลให้เกิดอัตราการเติบโตภาคเกษตรเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 2.34 ร้อยละ 0.34 และร้อยละ 25.64 ต่อปี ตามลำดับ ผลลัพธ์จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่านโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพควรตั้งอยู่บนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรทั้ง 3 ประการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเกษตรเศรษฐกิจที่ 13 (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และลำพูน) และเขตเศรษฐกิจที่ 12 (พะเยา ลำปาง และเชียงราย)
Abstract
Agricultural development is a consequence of many factors technological change and policy intervention which affect agricultural production structure and efficiency. This article will present the results of production efficiency assessment of agricultural sector in Northern Thailand during 1997-1999 covering all Northern and Error Correction Mechanism technique as well as Stochastic Frontier Production Function analysis. The average production efficiency was found to be 82.20% per year while the 13th Agricultural Economic Zone performed the best at 91.01% level and the 11th Zone performed the poorest at 71.95% Output growth was mainly contributed by the productivity growth for 73.19%, and the remaining 26.81% was due to input increase.
On the contribution of production efficiency change and technological to the overall agricultural growth, it was found that only 4.21% of the annual growth came from the farmer component while 68.98% was attributable to technology. The production factors that contributed to such growth were labor, land and farm credit at 2.34% , 0.34% and 25.64% per year respectively. The results from this study suggest that production efficiency can be further enhanced with policy supporting the use of these three production factors particularly in the 13th Zone (Chiang Mai, Mae Hong Son, Lamphune) and 12th Zone (Phayao, Lampang and Chiang Rai).
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่