ความพอใจของตลาดนักท่องเที่ยวต่างประเทศต่อไวน์พื้นบ้านในภาคเหนือตอนบน

Authors

  • กาญจนา โชคถาวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประเสริฐ ไชยทิพย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาความพอใจของตลาดนักท่องเที่ยวต่างประเทศต่อไวน์พื้นบ้านในภาคเหนือตอนบนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคไวน์ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจซื้อไวน์พื้นบ้านในภาคเหนือตอนบน ทัศนคติของผู้บริโภคนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินั้นมีประโยชน์ต่อการพัฒนาไวน์พื้นบ้านในภาคเหนือตอนบน วิธีศึกษาจะใช้ทั้งข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิจากการสอบถามจากผู้บริโภคนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ทั้งในประเทศแถบเอเชียและประเทศทางตะวันตกที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ทั้งที่เคยบริโภคและไม่เคยบริโภคไวน์จำนวน 300 คน 

ผลการศึกษานักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากประเทศแถบยุโรปมากที่สุด และต่างมีประสบการณ์ในการดื่มไวน์มานานพอสมควร ระบุว่าไวน์พื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนบนที่เข้ารับการทดสอบนั้นยังคงอยู่ในระดับความชื่นชอบที่ต่ำ ส่วนใหญ่จะชอบคุณสมบัติทางกายภาพมากกว่าของคุณสมบัติทั้งความรู้สึก ระดับราคาส่วนใหญ่เป็นที่พอใจแต่อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากนักเพียง 4.6 จากระดับสูงสุดคือ 10.0 การศึกษาได้แสดงถึงความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงคุณภาพของไวน์พื้นบ้านสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอีกมาก นักท่องเที่ยวมีความชอบคุณสมบัติทางกายภาพที่สูงที่สุดประมาณที่ระดับ 5.0 - 5.5 จากระดับสูงสุดที่ระดับ 7.0 ได้แก่ ไวน์ลำไย (หวานน้อย) และไวน์ลิ้นจี่ (หวานน้อย) รองลงมาคือ ไวน์สตรอเบอรี่ (หวานน้อย) และไวน์ลิ้นจี่ (หวานมาก) ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างประเทศโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ยังคงพบว่าคุณสมบัติทางกายภาพมีความพอใจที่ดีในระดับหนึ่ง คือ ระดับความพึงพอใจประมาณ 5.0 - 5.5 เมื่อเทียบระดับความพอใจที่สูงที่สุดในระดับ 7.0 คือ ความใส รองลงมาคือ สี และกลิ่น ซึ่งต้องพัฒนาเพิ่มขึ้นต่อไป แต่คุณสมบัติด้านอื่นเช่น คุณสมบัติทั้งความรู้สึกยังต้องพัฒนาปรับปรุงต่อไปอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นรสหวาน ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้ความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ความรู้สึกรับรสทางปาก รสฝาด และรสขม ตามระดับ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพไวน์พื้นบ้านเหล่านี้ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้งภาครัฐและเอกชน และทำควบคู่กันไปกับงานวิจัยต่างๆ เช่น เทคนิคการผลิตไวน์พื้นบ้านเข้าสู่มาตรฐานสากล การตลาด และอื่นๆ

Abstract

            Entitled “Local wine satisfactory among international tourist markets in Upper Northern Thailand”, this study aimed to measure consumer attitudes among international tourist. Our research analyzed factors affecting decisions on purchasing local wine in the Upper North and the attitudes of international tourists on the benefits of developing local wine in the Upper North. The study relies on research methodologies using both primary data and secondary data. Asia and Western tourists in Chiang Mai who had previously consumed wine and who never had drunk wine were asked to provide information through the distribution of 300 questionnaires.

            A majority of tourists from Europe who had previously consumed wine indicated low satisfaction with local wine in Upper Northern Thailand. The majority preferred the individual characteristics of each wine rather than the sensory characteristics evaluated. The respondents were satisfied with the price level, rating prices at 4.6 to 10.0. The study indicated that there was a need to improve local wine for international tourists. The results showed high satisfaction with the individual physical characteristics of each wine at the scores at 7.0 for Longar wine (low sweet), Lichee wine (low sweet), Strawberry wine (low sweet) and Lichee wine (high sweet). Overall results demonstrated that the quality scale of wine satisfaction in the international tourist market was low and that the individual characteristics were good at some levels of wine satisfaction approximately at 5.0-5.50 compared with high satisfaction level at 7.0, clearness followed by odor, and aromatic intensity that needed to be developed. But other sensory characteristics needed more improvement such as mouth feel and tannin respectively. Finally, both the public and private sectors need to do more work and research to bring local wines to international standards.

Downloads