ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตลำไยในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตลำไย โดยรวบรวมข้อมูลจากการเกษตรกรลำไยรายย่อยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนอันเป็นแหล่งผลิตลำไยหลักของประเทศจำนวน 128 ราย เพื่อนำมาวิเคราะห์หาต้นทุนและผลตอบแทนจำแนกตามสภาพการจัดการสวนเป็นการจัดการค่อนข้างสูงและการจัดการค่อนข้างต่ำ คำนวณต้นทุนการผลิตลำไยโดยการหามูลค่าปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ในปี 2544 สวนที่มีการจัดการค่อนข้างสูงมีต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ยเท่ากับ 10,492 บาท/ไร่/ปี มีผลผลิตเฉลี่ย 963 กิโลกรัม/ไร่/ปี ทำให้มีต้นทุนการผลิตลำไยประมาณ 11 บาท/กก. ในขณะที่สวนที่มีการจัดการค่อนข้างต่ำมีต้นทุนการผลิต/ไร่ ผลผลิต/ไร่ และต้นทุน/กก. เท่ากับ 5,371 บาท/ไร่/ปี 719 กก./ไร่/ปี และ 7.50 บาท/กก. ตามลำดับ แต่เมื่อพิจารณาโดยไม่จำแนกสภาพการจัดการ ต้นทุนการผลิต/ไร่ ผลผลิต/ไร่ และต้นทุน/กก. จะเท่ากับ 7,932 บาท/ไร่/ปี 840 กก./ไร่/ปี และ 9.50 บาท/กก. ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตลำไยจะแปรผันระหว่าง 5.50-20 บาท/กก. ตามสภาพการจัดการของแต่ละสวน การวิเคราะห์ผลตอบแทนเมื่อเกษตรกรมีการขายผลผลิตตามคุณภาพ โดยมีการคัดเกรดผลช่อใส่ตะกร้า และประมาณคุณภาพผลผลิตในสวนลำไยเป็นเกรด AA A B และ C เท่ากับร้อยละ 41 33 14 และ 12 ของผลผลิตทั้งหมด ถ้าเกษตรกรขายลำไยเกรด AA ได้ราคาเท่ากับ 20 บาท/กก. เกษตรกรจะมีผลตอบแทนสุทธิประมาณ 1,547 บาท/ไร่/ปี และมีระยะคืนทุนประมาณ 10 ปี หรือ 6 ปี ถ้าเกษตรกรขายลำไยเกรด AA ได้ราคาสูงถึง 30 บาท/กก. อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณ คุณภาพ และราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้
การประมาณการต้นทุนการผลิตลำไยในปี 2546 พบว่า ถ้าลำไยมีผลผลิตเฉลี่ย 800 และ 1,000 กก./ไร่/ปี ต้นทุนเฉลี่ยจะเท่ากับ 13.76 และ 11.01 บาท/กก. ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตในที่นี้ยังไม่ได้บวกค่าบริการจัดการของเจ้าของสวนในแต่ละปี ซึ่งถ้านำมาคำนวณด้วยจะมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอีกราวร้อยละ 10-20
Abstract
The objectives of this study was to ascertain costs and returns of longan production. Questionnaires from the 128 small longan farmers were collected from those who had a longan orchard of 1-10 rai/household in Chiang Mai and Lamphun province in 2000. All farms were characterized into two groups with respect to their management, namely, the intensive and non-intensive farm management groups. Costs and returns were calculated by using present value (PV). The result from this study showed that the intensive farm management group had averages of production costs, yield and cost per kilogram being 10,492 bath/rai/year, 963 kg/rai/year and 11 bath/kg, respectively, while for the non-intensive farm management group, they were 5,371 bath/rai/year, 719 kg/rai/year and 11 bath/kg, respectively. For all farms, these were 7,932 bath/rai/year, 840 kg/rai/year and 9.50 bath/kg, respectively. The longan cost per kilogram varied from 5.5 to 20 bath/kg dependent on their farm management. The analysis of longan returns by grade, with grade AA, A B and C averaging about 41 33 14 and 12 percent of total yield, respectively revealed that farmers who could sell longan at about 20 bath/kg for grade AA, they could obtain net return about 1,547 bath/rai/year and could break even in the tenth year. If farmers sold grade AA longan for about 30 bath/kg, they could break even in the sixth year. However, the returns fluctuated dependind on longan yield, quantity, quality and price which farmers obtained.
The projection of the longan production costs from year 2000 to 2003 was made by calculating future value (FV). If longan yield were around 800 and 1,000 kg/rai/year, the cost per kilogram could be 13.76 and 11.01 bath/kg in 2003, respectively. However, this study has not included farmers’ management cost in each year. This could further increase cost by about 10-20 percent.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่