ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านในแต่ละระดับ

Authors

  • เริงชัย ตันสุชาติ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์การเกษตร คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • มนตรี สิงหะวาระ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์การเกษตร คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • อารีย์ เชื้อเมืองพาน รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์และสหกรณ์การเกษตร คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ศึกษาสภาพลักษณะการดำเนินงานโดยทั่วไปของกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองที่ประสบความสำเร็จในแต่ละระดับในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองที่ประสบความสำเร็จในแต่ละระดับในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (3) ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองที่ประสบความสำเร็จในแต่ละระดับในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

            ในการศึกษาครั้งนี้ได้มุ่งเน้นศึกษากองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการจัดอันดับในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบจำลองโพรบิตแบบเรียงลำดับ (ordered probit model) ซึ่งผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านในแต่ละระดับ คือ (1) คณะกรรมการบริหารงานกองทุนมีประสบการณ์บริหารกองทุนอื่นมากกว่า 5 ปี (2) การเข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมการ (3) การวางแผนการดำเนินงานของกองทุนส่วนใหญ่คือ ขาดแคลนอุปกรณ์สำนักงาน คณะกรรมการขาดความรู้ในการบริหารงาน จำนวนเงินไม่เพียงพอต่อการปล่อยกู้ให้สมาชิก และปัญหาการชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด

            ข้อเสนอแนะในการดำเนินการกองทุนหมู่บ้านนั้นสมาชิกจะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการกองทุนของตน นอกจากนี้ยังต้องอาศัยการส่งเสริมบางส่วนจากภาครัฐ เช่น การส่งเสริมอาชีพ และการให้ความรู้ด้านการบริหารแก่กรรมการกองทุน เป็นต้น เพื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน และเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้

 

Abstract

            The objective of this research are to study: 1) the general cooperation of 2) factor affecting 3) problems and obstacles of the success of village and rural fund in each level in Chiang Mai Province. This research emphasizes on village and rural fund that is ranked in Chiang Mai province by the ordered Probit model. The result of the study revealed that the factors affecting the success of those funds were: 1) the committee having experiences more than 5 year 2) participation of the committee 3) planning of fund 4) the consultant appointment 5) repaying debts, and 6) cooperation of the members in attending the meetings. The most serious problems of cooperative were: 1) lack of office equipment 2) lack of management 3) inefficient fund for lending to the members, and 4) the postponement of debt repayment.

            The suggestions for the fund management are as following. Members should take much care of the fund administration than they did at the moment. Moreover, the government should partially support the fund management such as giving working-skill promotion and training the administration technique for the committee so that the fund and the community can become sustainable and self-reliance.

Downloads