พฤติกรรมการบริโภคและทัศนคติของผู้บริโภคแหนม

Authors

  • อารี วิบูลย์พงศ์ รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นัทธมน ธีระกุล อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประทานทิพย์ กระมล นักวิจัย ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

Abstract

บทคัดย่อ

            การพัฒนาอุตสาหกรรมแหนมให้มีความยั่งยืนนั้น ยังขาดข้อความรู้ทางด้านการตลาดมารองรับอยู่มาก ผู้ผลิตส่วนใหญ่เข้าใจวาสผู้บริโภคตัดสินใจซื้อแหนมของตน เนื่องจากรสชาติเป็นสำคัญ การศึกษานี้ต้องการชี้และเน้นย้ำถึงทัศนคติและปัจจัยสำคัญต่อการเลือกซื้อและบริโภคแหนมของผู้บริโภคที่ผู้ผลิตควรตระหนักถึง จากการสัมภาษณ์ผู้บริโภค 680 ตัวอย่าง ในปี 2545 ประกอบด้วยผู้บริโภคใน จ.เชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวโดยเน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ในวัยเรียนซึ่งจะเป็นลูกค้ากลุ่มสำคัญในอนาคต สรุปได้ว่า ผู้บริโภคเลือกซื้อและบริโภคแหนมโดยเน้นที่ความสะดวกในการหาซื้อ มากกว่าที่จะยึดติดกับยี่ห้อของแหนมส่วนลูกค้าวัยกลางคนและผู้สูงอายุส่วนใหญ่เจาะจงซื้อยี่ห่อเดิม คุณสมบัติสำคัญที่แหนมต้องมีในทัศนะของผู้บริโภค ได้แก่ เนื้อสัมผัส/ความแน่น ควรมีสีชมพูอ่อนถึงปานกลาง รสเปรี้ยวในระดับปานกลางถึงค่อนข้างเปรี้ยว มีรสชาติคง และเป็นแหนม ไบโอเทค ซึ่งคุณสมบัติสองประการหลังนี้ วัยกลางคนและผู้สูงอายุให้ความสำคัญมากกว่าในคนรุ่นใหม่และวัยทำงาน ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกซื้อแหนมของผู้บริโภคทุกวัย คือ คุณภาพและความสะอาดภายใต้เครื่องหมายรับรอง อย. ดังนั้นผู้ผลิตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ดี โดยได้รับความรู้เพิ่มเติมด้านการผลิตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนจัดจำหน่ายสินค้าในร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เกต ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับกลุ่มผู้ซื้อรุ่นใหม่

 

Abstract

            Much marketing information is still lacking to support a realistic sustainable development of Nham industry. Most Nham producers presume that buyers choose to buy a particular product merely for the good taste of the food. This study, thus, aims to point out and address consumers’ behavior that Nham producers ought to understand and recognize. The findings are based on the interview of 680 sampled consumers who are residents of, and visitors to, Chiang Mai Province with emphasis on younger generation who will become major customer group in future. The target consumer appear to buy and consume any Nham products which are conveniently available for sale rather than for the reason of brand preference. The middle-age customers and older people in general choose to buy the products with traditionally known brand names. From consumer’ viewpoint, a good Nham can be judged by its texture/firmness. It should be pale pink to pink in color, taste moderately sour to slightly sour, have consistent flavor, and be processed by biotechnological fermentation technique. The last two properties are important to middle-aged and older consumers more than they are to the younger generation and working-aged customers. The most important decisive factor for consumers of all age groups to choose a particular Nham product is the quality and food hygiene as reflected by the Food and Drug Administration’s certification. The producers/food processors are recommended to upgrade their production technology, adopt good manufacturing practice and seek further knowledge and advice. More products should be made available in convenient stores and supermarkets for the increase sale to the younger group of customers. 

Downloads