ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าบริการศึกษาและโอกาสของประเทศไทย
Abstract
ภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Service : GATS ) ขององค์การการค้าโลก บริการให้การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของบริการที่ประเทศสมาชิกจะต้องเปิดเสรีในความหมายที่ว่าแต่ละประเทศจะไม่ใช้มาตรการกีดกันการเข้ามาเสนอขายบริการการศึกษาในรูปแบบต่างๆของสถาบันศึกษาจากต่างประเทศ และจะต้องให้การปฏิบัติเยี่ยงชนชาติ (National Treatment) ต่อสถาบันการศึกษาเหล่านั้น คือให้สิทธิ์ต่างๆเท่าเทียมกันกับสถาบันการศึกษาของประเทศ การเปิดเสรีเช่นนี้ให้โอกาสแก่ประเทศไทยในเสนอบริการการศึกษา (Export)ให้กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคที่เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกด้วยกันที่จะไม่ใช้มาตรการกีดกันบริการเช่นนี้จากประเทศไทย การเสนอขายบริการการศึกษาอาจทำได้ในรูปแบบของการเข้าไปเปิดสอนในประเทศเหล่านี้ หรือเปิดหลักสูตรนานาชาติในสถาบันการศึกษาของไทยแล้วให้นักศึกษาจากต่างชาติเข้ามารับการศึกษา ผู้เขียนรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าสนใจจึงขอนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อมูลบางประการที่ได้รับจากการทำงานในเรื่องนี้การให้การศึกษาเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบริหารประเทศที่มีเป้าหมายถึงการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ เป้าหมายทางการเมืองของการศึกษาก็คือ เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ ความรับผิดชอบ และความจงรักภักดีต่อชาติ อันเป็นรากฐานของความมั่นคงของประเทศ เป้าหมายทางสังคมก็คือ เพื่อหล่อหลอมบุคคลให้เล็งเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมของชนชาติที่ประกอบขึ้นเป็นส่วนใหญ่ของประชากรและการยอมรับค่านิยมทางสังคมร่วมกัน เพื่อความสามัคคีและเอกลักษณ์ของชาติ ส่วนเป้าหมายทางเศรษฐกิจก็คือ การสร้างคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะ สติปัญญาและความสามารถในการประกอบอาชีพที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและเป็นโอกาสเลื่อนฐานะทางสังคมของประชากร
ในยุคปัจจุบันที่มีการแพร่ขยายของการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด การพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการพัฒนาภูมิปัญญา การเปิดตัวของบริการการศึกษาของชาติสู่ระบบโลกเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์กับทุกประเทศทั้งในระดับบุคคลและระดับประเทศ
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่