การศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายค่าจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่

Authors

  • นิติวัฒน์ ปาณสมบูรณ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศศิเพ็ญ พวงสายใจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุวรัตน์ ยิบมันตะสิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ไพรัช กาญจนาการุณ อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหามูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายค่าจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายดังกล่าว เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการเสนอแนะเป็นแนวทางในการปรับอัตราค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บขยะมูลฝอยใหม่เพื่อให้สอดคล้องและมีความเหมาะสมกับความต้องการของประชาชนมากที่ การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนในแขวงต่างๆในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 388 ครัวเรือน โดยแบ่งออกเป็น 4 แขวงด้วยกันดังนี้คือ แขวงนครพิงค์จำนวน 88 ครัวเรือน แขวงกาวิละจำนวน 104 ครัวเรือน แขวงเม็งรายจำนวน 86 ครัวเรือน และแขวงศรีวิชัยจำนวน 110 ครัวเรือน การวัดมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายนั้นใช้วิธี Bidding Games และการวิเคราะห์หามูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายและความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายกับปัจจัยที่มีอิทธิพลใช้สมการถดถอย

            ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 388 ครัวเรือนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าจัดการขยะมูลฝอยที่ราคา 47.52 บาทต่อเดือน โดยแขวงนครพิงค์ แขวงกาวิละ แขวงเม็งราย และแขวงศรีวิชัย มีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าจัดการขยะมูลฝอยที่ราคา 42.24, 51.66, 41.67 และ 39.27 บาทต่อเดือน ตามลำดับ การวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าความเต็มใจจ่ายพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ปัจจัยในเรื่องของปริมาณขยะมูลฝอยที่ครัวเรือนทิ้งใน 1 วัน โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับมูลค่าความเต็มใจจ่ายที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยที่หากครัวเรือนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีขยะที่ทิ้งใน 1 วันเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม ก็จะยินดีจ่ายเพิ่มขึ้น 3.80 บาท ส่วนครัวเรือนในแขวงนครพิงค์ แขวงกาวิละ แขวงเม็งราย และแขวงศรีวิชัยจะมีความเต็มใจจ่ายเพิ่มขึ้น 5.36, 3.70, 5.81 และ 3.07 บาทต่อเดือน ตามลำดับ

            สำหรับปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าความเต็มใจจ่ายค่าจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ ปัจจัยเรื่องระดับการศึกษาโดยที่ครัวเรือนที่มีระดับการศึกษาสูงขึ้นก็ยินดีที่จะจ่ายค่าจัดการขยะมากขึ้น ปัจจัยรายได้โดยที่ครัวเรือนที่มีรายได้สูงก็จะมีความยินดีที่จะจ่ายมากขึ้น ปัจจัยจำนวนผู้พำนักอาศัยในครัวเรือนโดยที่ครัวเรือนที่มีผู้พำนักอาศัยหลายคนก็จะมีความยินดีที่จะจ่ายมากขึ้น ปัจจัยเรื่องการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอยโดยที่ผู้ที่เคยรับรู้เกี่ยวกับปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยก็จะมีความยินดีจ่ายมากขึ้น และปัจจัยในด้านความเป็นเจ้าของสถานที่อยู่อาศัยโดยที่ผู้ที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเองก็จะมีความยินดีจ่ายมากขึ้น

            สำหรับปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อพิจารณาจำแนกตามแขวงแล้วพบว่าปัจจัยในเรื่องระดับการศึกษามีอิทธิพลต่อครัวเรือนทุกแขวง ปัจจัยด้านรายได้มีอิทธิพลเฉพาะครัวเรือนในแขวงกาวิละและแขวงเม็งราย ปัจจัยจำนวนผู้พำนักอาศัยในครัวเรือนมีอิทธิพลเฉพาะครัวเรือนในแขวงกาวิละและแขวงศรีวิชัย สำหรับปัจจัยในเรื่องการรับรู้ข่าวสารมีอิทธิพลเฉพาะครัวเรือนในแขวงนครพิงค์และศรีวิชัย ส่วนปัจจัยอายุมีอิทธิพลเฉพาะครัวเรือนในแขวงนครพิงค์โดยที่ผู้ที่มีอายุสูงจะมีความยินดีจ่ายลดลง

            การประมาณค่ารายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ใน 1 ปีนั้นพบว่ามีมูลค่าประมาณ 36 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถทำให้รายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 6 เท่า และจะทำให้รายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมสามารถชดเชยรายจ่ายด้านการรักษาความสะอาดได้ถึงร้อยละ 65.98 นอกจากนั้นแล้วจากการประมาณมูลค่าความเต็มใจจ่ายที่ได้ในแต่ละแขวงนั้นพบว่า ความเต็มใจที่จะจ่ายมีมูลค่าที่มากกว่าอัตราค่าธรรมเนียมเดิมที่เก็บอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นแสดงว่าทางเทศบาลนครเชียงใหม่สามารถปรับอัตราค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บขยะมูลฝอยให้สูงขึ้นกว่าเดิมได้ ซึ่งสอดคล้องกับความเต็มใจที่จะจ่ายของครัวเรือนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่

 

 

Abstract

            The purpose of this study is to determine the willingness to pay for solid waste management and to investigate factors which may influenced the willingness to pay for solid waste management in Chiang Mai Municipality Area. The study should be useful as criterion in adjusting payment for cost of waste management. The data used in this study were collected from household in Chiang Mai Municipality Area using multistage sampling method of 388 samples. A total 88 samples were from Nakornphing sub district, 104 samples from Gavila sub district, 86 samples from Mengrai sub district and 110 samples from Srivichai sib district. The willingness to pay was estimated using Bidding Games method. The relationship between the willingness to pay and factor determining it were analyzed by Linear Regression Technique.

            The study found that the willingness to pay for the whole Municipality is 47.52 baht per month. It is 42.24, 51.66, 41.67, and 39.27 baht per month for the sub district Nakornphing, Gavila, Mengrai and Srivichai respectively.

            The factor which was found to be the most significant influencing willingness to pay for solid waste management is daily quantity of disposal waste at a level of significance at 0.01. For every 1 kilogram increase in solid waste a day the willingness to pay will increase 3.80 baht per month for the whole Municipality Area. It is 5.36, 3.70, 5.81 and 3.07 baht per month for the sub district of Nakornphing, Gavila, Mengrai and Srivichai respectively.

            The other factors which were found to be significantly influence the willingness to pay for solid waste management in Chiang Mai Municipality Area are educational level, total income of household, household size, recognition information concerning solid waste and ownership of household. Only education level was found to have significant influence on the willingness to pay of all sub districts. Total household income was found to have significant influence willingness to pay in Gavila and Mengrai sub district. Household size has influence willingness to pay in Gavila and Srivichai sub district. While information corncerning about solid waste was found to have significant influence on willingness to pay in Nakornphing and Srivichai sub distract. Lastly age of respondents was found to be influence on willingness to pay only in Nakornphing sub district.

            Annual value of willingness to pay for the whole Municipality was estimated to increase from 6 million to 36 million baht. This would help to reduce the difference between actual revenue received from household payments and cost of waste management down by 65.98%. The amount of willingness to pay expressed by household in every sub districts were found to be much higher than what they are actually charged by the Municipality at present. This implies that the Municipality can adjust its rate of waste management to a much higher rate in accordance with household’s willingness to pay.

Downloads