การศึกษาโคอินทิเกรชันและการจำแนกองค์ประกอบของความแปรปรวนของดัชนีหลักทรัพย์แห่งชาติหลังวิกฤตทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกันของตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติของประเทศในทวีปเอเชียหลังวิกฤตทางการเงินในภูมิภาคเอเชียและอธิบายกลไกการส่งผ่านการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน (Shock) ของประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งผ่านช่องทางด้านตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศหลังวิกฤตทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย โดยใช้วิธีวิเคราะห์โคอินทิเกรชัน Granger’s Causality และการจำแนกองค์ประกอบของความแปรปรวน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือดัชนีหลักทรัพย์แห่งชาติของประเทศไทย จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เป็นข้อมูลรายสัปดาห์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 เดือน มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง สัปดาห์ที่ 4 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2545 รวม 261 สัปดาห์
ก่อนการศึกษาโคอินทิเกรชันต้องทดสอบว่าดัชนีหลักทรัพย์แห่งชาติของทุกประเทศที่ทำการศึกษามีลักษณะ Non-stationary หรือไม่ด้วยวิธีการ Augmented Dickey-Fuller Test ซึ่งปรากฏว่าดัชนีหลักทรัพย์แห่งชาติของทุกประเทศที่ทำการศึกษามีลักษณะเป็น Non-stationary จากนั้นจึงนำเทคนิคโคอินทิเกรชันและการปรับตัวในระยะสั้น เพื่อสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างกันพบว่าหลังวิกฤตทางการเงินในภูมภาคเอเชีย ดัชนีหลักทรัพย์แห่งชาติของทั้ง 10 ประเทศเกิดความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว 6 รูปแบบ และสามารถสร้างแบบจำลองการปรับตัวในระยะสั้นได้จากผลลัพธ์ที่ได้สามารถสนับสนุนแนวคิดการเชื่อมโยงระหว่างตลาดหลักทรัพย์และการรวมตัวเป็นกลุ่มของตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติของประเทศในภูมิภาคเอเชียหลังจากเกิดวิกฤตทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย
จากเทคนิควิเคราะห์การจำแนกองค์ประกอบของความแปรปรวน พบว่าเกิดการส่งผ่านการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน (Shock) ของดัชนีหลักทรัพย์แห่งชาติของประเทศหนึ่งไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติของอีกประเทศหนึ่ง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดัชนีหลักทรัพย์แห่งชาติในสัดส่วนที่แตกต่างกันซึ่งเป็นการยืนยันแนวคิดการส่งผ่านการเปลี่ยนแปลงฉับพลันระหว่างกันและทำให้เกิดการเผชิญผลกระทบร่วมกัน (Contagion)
การทดสอบ Granger’s Causality เป็นการทดสอบเพื่อระบุว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติของประเทศใดเป็นเหตุหรือเป็นผู้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในดัชนีหลักทรัพย์แห่งชาติของประเทศอื่น ทั้งนี้โดยการพิจารณาจาการจับคู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติของประเทศที่ทำการศึกษาจนครบ ผลการศึกษาพบว่าดัชนีหลักทรัพย์แห่งชาติของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย มีอิทธิพลระหว่ากันมากกว่าดัชนีหลักทรัพย์แห่งชาติของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ประเทศจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ผลการวิเคราะห์นี้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซึ่งเป็นกลุ่มอาเซียน) มีความสัมพันธ์ระหว่างกันทางด้านเศรษฐกิจมากกว่ากลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการเป็นกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียน ดังนั้นนักลงทุนและผู้วางนโยบายควรให้ความระมัดระวังต่อการเปลี่ยนแปลงฉับพลันที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกเป็นพิเศษ
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่