การประเมินต้นทุนและผลได้ทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส : กรณีศึกษา การรักษาด้วยยาต้านไวรัสและยาต้านโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาเพื่อประเมินต้นทุนและผลได้ทางเศรษฐศาสตร์และคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสและผู้ติดเชื้อที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสฉวยโอกาสรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดลำพูนและใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกที่มี 26 ตัวชี้วัดซึ่งพัฒนาโดยโรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยใช้วิธีสมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression) ส่วนข้อมูลทางด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม สุขภาพ ค่าใช้จ่าย และคุณภาพชีวิตนำเสนอออกมาในรูป ตารางแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมไปถึงได้ทำการเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มผู้ป่วยโดยใช้สถิติ t-test ในการทดสอบ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาด้านต้นทุนทางตรงและทางอ้อมของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 121,661.74 บาทต่อคนต่อปี ด้านต้นทุนทางตรงและทางอ้อมของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคติดเชื้อฉวยโอกาส มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 37,484.26 บาทต่อคนต่อปี ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าต้นทุนการรักษาด้วยยาต้านไวรัสมีค่าสูงกว่าต้นทุนการรักษาด้วยยาต้านโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างมีนัยสำคัญ
ผลการศึกษาทำให้ได้มาซึ่งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำคัญคือ ควรให้ความสำคัญต่อการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการด้วยยาต้านไวรัส เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวนั้นผลได้ของการรักษามีมาก และควรส่งเสริมการให้ความรู้ผู้ป่วยอย่างถูกต้องถึงการรักษาตลอดจนการปฏิบัติตนหลังการติดเชื้อ ขณะเดียวกันควรส่งเสริมอาชีพในกลุ่มผู้ป่วย รวมทั้งควรเน้นให้ความสำคัญกับมาตรการเชิงป้องกันมากกว่าการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นการบริหารจัดการทางสาธารณสุขที่มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพสูงสุด
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่