ผลกระทบของข้อจำกัดทางด้านสภาพล่อง และการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทางการเงินต่อพฤติกรรมการบริโภคภาคเอกชนในประเทศไทย

Authors

  • เบญจวรรณ จันทรา เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อารี วิบูลพงศ์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

บทคัดย่อ

            ประเทศไทยได้ดำเนินการปฏิรูประบบการเงินครั้งสำคัญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา ด้วยเหตุผลที่แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันมากขึ้น ในด้านการค้าการลงทุน ซึ่งจะต้องมีการจัดสรรทรัพยากรเศรษฐกิจ และระบบการเงินที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการแข่งขันในเวทีการค้าสากล โดยยึดหลักการปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เน้นการแข่งขันในตลาดการเงิน และเสริมสร้างบทบาทของระบบการเงินของประเทศให้มีความพร้อม และมีศักยภาพทางธุรกิจในการให้บริการระดับสากล เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบการเงินสากล ซึ่งในแผนการปฏิรูปทางการเงินของไทยนั้นมีมาตรการผ่อนคลายต่างๆด้านอัตราดอกเบี้ย การควบคุมปริวรรต การบริหารสินทรัพย์ของสถานบันการเงิน และการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถานบันการเงินอยู่ด้วย ในการศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นการตรวจสอบพฤติกรรมการบริโภคภาคเอกชนของประเทศไทย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2513-2544 เพื่อดูว่าการมีมาตรการผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆข้างต้นจะมีผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนของไทยอย่างไร ด้วยวิธี Cointegration and Error Correction Model (ECM)

            ส่วนที่สอง เป็นส่วนที่ใช้แบบจำลองการบริโภคที่ไม่ใช่เส้นตรง หรือแบบจำลอง Euler Equation ของอรรถประโยชน์ของการบริโภคในคาบปัจจุบันและอนาคต กับผลตอบแทนที่เป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ซึ่งได้ทำการแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนการผ่อนคลายทางการเงิน พ.ศ. 2533-2544 ด้วยวิธี The General Moment Method

Downloads