สาเหตุและแนวทางแก้ปัญหาการจราจรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Abstract
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ประชาชนชาวเชียงใหม่มองว่าปัญหาการจราจรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2544 มีความรุนแรงในระดับ “พอสมควร” แต่ในปี พ.ศ. 2545 มีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็น “ค่อนข้างรุนแรง” ทั้งนี้ปัญหาการจราจรมีสาเหตุใหญ่มาจากการไม่เคารพกฎจราจรของประชาชนเอง อีกทั้งการที่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดีพอ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือกที่จะต้องมียานพาหนะของตนเองเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง จนทำให้ชาวเชียงใหม่รู้สึกได้ว่าจำนวนพาหนะมีมากเกินไปแล้ว แต่กระนั้นผู้ที่พยายามหายานพาหนะมาขับขี่ก็ใช่จะสามารถหลีกเลี่ยงจากปัญหาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ต้องทนต่อสู้กับความยากลำบากบนท้องถนนมากที่สุด ดังนั้น การศึกษาเรื่องนี้จึงพบว่าประชากรชาวเชียงใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถจักยานยนต์และผู้ที่ไม่มียานพาหนะจึงเรียกร้องให้มีการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้สำเร็จลุล่วงอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว นอกจากนั้นชาวเชียงใหม่ยังเรียกร้องให้ทุกคนช่วยกันรักษากฎจราจร หากผู้ใดไม่แน่ใจในเรื่องกฎจราจรก็ขอให้เข้ารับการอบรมหรือแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพราะจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นที่ร่วมใช้รถใช้ถนนด้วยกัน ประชาชนชาวเชียงใหม่ยังต้องการความมีประสิทธิในการประสานงานของโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ให้มีแผนร่วมกันเพื่อที่จะลดปัญหาการต้องทำการขุดและกลบหลายๆครั้งบนถนนแต่ละสาย ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาการเคลื่อนตัวของรถเป็นไปได้อย่างล่าช้าแล้วยังจะทำให้ผิวถนนเสียอีกด้วย และในส่วนที่ชาวเชียงใหม่ต้องการบริการจากตำรวจจราจรคือ การจัดหน่วยตำรวจที่จะคอยช่วยแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ ที่ควรจะเคลื่อนย้ายคู่กรณีเพื่อไม่ให้เป็นที่กีดขวางทางจราจรได้ด้วยความรวดเร็ว
เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้แสดงชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการระบบขนส่งมวลชนด้วยเหตุนี้ในการศึกษาครั้งต่อไปจึงน่าจะนำเสนอระบบขนส่งมูลชนรูปแบบต่างๆ ว่ารูปแบบไหนที่ประชาชนต้องการมากที่สุด รวมทั้งความยินดีที่จะจ่ายค่าโดยสารประจำทางสำหรับแต่ละรูปแบบของระบบขนส่งมวลชนที่นำเสนอ
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่