เหนื่อยแต่พอใจ
Abstract
บทคัดย่อ
การเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบอาชีพอิสระเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดพร้อมกันกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ก่อให้เกิดแรงชักจูงและแรงผลักดันที่ทำให้ผู้หญิงที่เคยใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับครอบครัวต้องปรับตัวตัวด้วยการออกาประกอบอาชีพทำธุรกิจ และมีผลทำให้เวลาสำหรับพักผ่อนและเวลาสำหรับครอบครัวลดน้อยลงและก่อให้เกิดปัญหาที่ว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้ผู้หญิงได้รับความสุขความพอใจลดลงหรือไม่ อย่างไรก็ดีจากการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายหลักเกณฑ์การแบ่งเวลาของบุคคลระหว่างการทำงานหารายได้กับการพักผ่อน โดยอาศัยเส้น Indifference curve และเส้น Budget line ในกระบวนการแสวงหาความพึงพอใจสูงสุด เราสามารถคาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้นได้ดีพอสมควรจากการอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้หญิงที่ประกอบอาชีพทำอาหารขายในบางท้องที่ของจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนมาทำการทดสอบ ผลปรากฏว่าร้อยละ 90 ของผู้ได้รับการสัมภาษณ์ตอบว่า การออกมาประกอบอาชีพเช่นนี้แม้ว่าจะเหนื่อยและพักผ่อนได้น้อยลง แต่รู้สึกพอใจมากกว่าเดิม ผลการวิเคราะห์เช่นนี้สนับสนุนแนวคิดทางทฤษฏีเศรษฐศาสตร์
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่