ประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สู่การพัฒนาตลาดท่องเที่ยว
Abstract
บทคัดย่อ
การพัฒนาตลาดท่องเที่ยวในประเทศเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจในอันดับสูง เพราะการท่องเที่ยวสามารถก่อให้เกิดรายได้ การจ้างงาน เงินตราต่างประเทศและการพัฒนาภูมิภาค โดยสิ้นเปลืองการลงทุนน้อยและได้ผลตอบแทนรวดเร็ว ประเด็นสำคัญทางนโยบายก็คือ จะทำอย่างไรให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมภูมิภาคแห่งนั้นมากขึ้น ส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่ต้องกระทำก็คือกำหนดกลยุทธการตลาด ในกรณีศึกษาเรื่องนี้ภูมิภาคเป้าหมายก็คือถิ่นฟ้าล้านนาตะวันออกอันประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน ในการเสนอกลยุทธการพัฒนาตลาดท่องเที่ยวแห่งนี้ผู้เขียนได้ทดลองนำเอาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ คือ ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อทำความเข้าใจถึงแหล่งท่องเที่ยวและบริการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศต้องการ ซึ่งทฤษฎีนี้ช่วยให้เข้าใจถึงบทบาทของรสนิยมที่กำหนดโดยลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวกลุ่มต่างๆ เพื่อปรับปรุงตลาดท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับรสนิยม อีกทฤษฎีหนึ่งก็คือทฤษฎีความสามารถในการแข่งขันที่จะบอกให้ทราบว่าในการที่จังหวัดทั้ง 4 จะต้องปรับปรุงทางด้านกายภาพและบริการต่างๆ อย่างไรบ้าง จึงจะสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้อย่างมีผล ผลจากกรณีศึกษาเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า การอาศัยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เป็นหลักในการเข้าสู่ปัญหาและวินิจฉัยปัญหา ทำให้สามารถนำไปสู่การเสนอแนะมาตรการทางนโยบายที่ตรงกับต้นเหตุของปัญหาและปฏิบัติได้
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่