อุตสาหกรรมของเล่นทำด้วยไม้กับอนาคตต้นทุน
Abstract
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมของเล่นที่ทำจากไม้เพื่อการส่งออกของไทย เป็นอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จในการยอมรับเป็นอย่างมาในระดับโลก ทั้งในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และความสวยงามตลอดจนรูปแบบหลากหลาย โดยผลิตภัณฑ์ของเล่นไม้ของไทยส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตของเล่นไม้เพื่อการศึกษา (Education Toys) ซึ่งผู้ผลิตของไทยมีจุดแข็งสำคัญในฝีมือแรงงาน และคุณภาพสินค้าสูงกว่าคู่แข่งที่สำคัญอย่างจีน และเวียดนามทำให้สามารถแข่งขันกับประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำได้ อีกทั้งยังสามารถหาวัตถุดิบไม้จากภายในประเทศได้ ส่งผลให้ของเด็กเล่นที่ทำจากไม้สามารถขยายตัวในตลาดส่งออกได้ดี และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่ภาพรวมของการส่งออกของเด็กเล่นชนิดอื่นๆอยู่ในช่วงชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเริ่มขาดแคลนวัตถุดิบไม้ยางพาราในประเทศ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการปลูกยางเพื่อผลิตน้ำยางและอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราในประเทศที่มีมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการใช้ไม้ยางพาราในอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ เช่น การผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน การผลิตไม้ยางแปรรูปมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งจะส่งผลให้ราคาไม้ยางพารามีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต และจะกลายเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตของเล่นไม้ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมมือรับกับต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมของเล่นไม้ไทยต้องหาแนวทางการแก้ไข้ปัญหาเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน คือ การเพิ่มศักยภาพในการผลิตโดยยกระดับคุณภาพสินค้าของเล่นไม้ไทยให้สูงขึ้นเพื่อเป็นการเร่งเพิ่มมูลค่าต่อหน่วย และการหากลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกในการหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อขยายฐานตลาดให้กว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้ของเล่นที่ทำด้วยไม้จากไทยสามารถแข่งขันได้ในเชิงคุณภาพกับสินค้าจากคู่แข่งในตลาดโลกต่อไป
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่