ผลผลิต รายได้ ต้นทุน และผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแหล่งปลูกที่สำคัญของประเทศไทย ปีการผลิต 2541 – 2542
Abstract
สรุป
เกษตรกรปลูกข้าวโพดในพื้นที่เฉลี่ย 45.5 ไร่ พื้นที่ปลูกขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เกษตรกรใช้ปัจจัยการผลิตสำคัญ คือ เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 2.7 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 34.4 กิโลกรัม/ไร่ รวมทุกพื้นทีเกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 585 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้การปลูกข้าวโพดในพื้นที่นาในฤดูแล้งหลังการปลูกข้าว ในปี 2542 ได้ผลผลิตสูงที่สุดเฉลี่ย 796 กิโลกรัม/ไร่ รองลงมาเป็นการปลูกในช่วงปลายฤดูฝน ซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ย 624 กิโลกรัม/ไร่ และ 558 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2541 และ 2542 ตามลำดับ ส่วนการปลูกต้นฤดูฝนได้ผลผลิตน้อยที่สุด เฉลี่ย 591 กิโลกรัม/ไร่ และ 510 กิโลกรัมต่อไร่ ในปี 2541 และ 2542 และเมื่อดูตามขนาดฟาร์ม โดยใช้มูลการผลิตในช่วงต้นฤดูฝน ปีการผลิต 2541 พบว่าฟาร์มขนาดเล็กได้ผลผลิตสูงที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 662 กิโลกรัม/ไร่ รองลงมาเป็นฟาร์มขนาดกลางผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 608 กิโลกรัม/ไร่ และฟาร์มขนาดใหญ่ได้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 529 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับต้นทุนการผลิตเมื่อเปรียบเทียบการผลิตในแต่ละฤดู พบว่าการผลิตข้าวโพดในฤดูแล้งมีต้นทุนสูงที่สุด รองลงมาเป็นการผลิตในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนตามลำดับ ทั้งเป็นต้นทุนที่ไม่เป็นตัวเงินอันเกิดจากการใช้แรงงานครอบครัวหรือแรงงานแลกเปลี่ยนในสัดส่วนที่สูง สำหรับการผลิตตามขนาดฟาร์ม พบว่าฟาร์มขนาดเล็กมีต้นทุนการผลิตสูงที่สุด รองลงมาเป็นฟาร์มขนาดใหญ่และขนาดกลางตามลำดับ
สำหรับผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโพด ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการปลูกข้าวโพดในช่วงปลายฤดูฝน ฤดูแล้งในพื้นที่นาหลังการปลูกข้าว และในฟาร์มขนาดเล็ก ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อไร่ดีกว่าการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ในฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่และเมื่อดูรายละเอียดการผลิตในแต่ละตำบล พบว่ามีหลายตำบลที่เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงในขณะที่ได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ ทำให้ขาดทุนสุทธิหรือได้กำไรจากการผลิตน้อย เช่น ในตำบล ด่านซ้าย จังหวัดเลย ตำบลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ตำบลบัววัฒนา จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำยลห้วยบง จังหวัดนครราชสีมา สาเหตุเนื่องจากเกษตรกรเผชิญกับปัญหาฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วงในระยะการผลิต รวมทั้งผลจากวิธีการจัดการของเกษตรกรเอง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องมีการวางแผนแก้ไข โดยอาจเน้นการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดที่ทนแล้งกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งต้องมีการให้ความรู้และการส่งเสริมเป็นพิเศษเพื่อยกระดับการผลิตในพื้นที่เหล่านี้
Published
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่