การตลาดท้องถิ่นข้าวหอมมะลิซ เชียงใหม่ พิษณุโลก และทุ่งกุลาร้องไห้

Authors

  • รศ.ดร. อารี วิบูลย์พงศ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ดร. ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เยาวเรศ เชาวนพูนผล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิมล ธีรัภาพพันธ์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ประทานทิพย์ กระมล ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

ที่มาและวัตถุประสงค์

บทบาทของการตลาดต่อการพัฒนาการเกษตรเป้นที่ยอมรับกันทั่วไป นั่นคือในการทำงานหลักให้เกิดการแลกเปลี่ยน การพัฒนาผลิตภัณธ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและด้วยกลไกของระบบตลาดในการกำหนดราคาและส่งผ่านราคาให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดเส้นทางในระบบตลาด ในด้านจองเกษตรกรนั้นสภาพแวดล้อมการตลาดที่ใกล้ที่สุดจะมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการหล่อหลอมทัศนะคติที่มีต่อตลาด ต่อราคา และส่งผลต่อการตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรของเกษตรกรในที่สุด วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ก้คือ การทำความเข้าใจระบบตลาดท้องถิ่นเพื่อให้เห็นสภาพแวดล้อมการตลาดที่ใกล้ตัวเกษตรกรโดยวิธีการซื้อขายของพ่อค้าผู้รวบรวม โรงสี และสหกรณ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของข้าวสารและการตั้งราคารับซื้อ ทั้งนี้ โดยมีข้อสมมติฐานว่ามาตรการและการปฏิบัติของผุ้รับซื้อจะส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของข้าว อันจะนำไปสู่การมีอุปทานที่มีคุณภาพและเกษตรกรจะได้รับราคาดีขึ้นในที่สุดด้วย และเพื่อผูกโยงสถานการณืในระดับท้องถิ่นกับมหภาคในส่วนของระบบราคา จึงแระสงค์ที่จะวิเคราะห์การส่งผ่านราคาในเชิงปริมาณ การสังเคราะห์ทั้งสองส่วนนี้ จะเป้นประโยชน์ต่อผุ้วางนโยบายว่าระบบตลาดในปัจจุบันสามารถสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรได้ดีเพียงไร หรือจะพัฒนาแก้ไขในด้านใดเพื่อให้เกิดแรงจูงใจอย่างเพียงพอ ในอันที่จะพัฒนาคุณภาพของข้าวหอมมะลิต่อไป 

Downloads