ศักยภาพของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยธุรกิจอาหารแปรรูปพื้นบ้าน
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งที่จะวิเคราะห์ถึงขีดความสามารถในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนของกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งเป็นองค์กรชุมชนที่สำคัญ โดยใช้อาหารแปรรูปพื้นบ้านเป็นกิจกกรมการเสริมสร้างรายได้และแก้ปัญหาการตลาดสินค้าเกษตร ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าอาหารแปรรูปพื้นบ้านเป็นสินค้าที่มีศักยภาพมาก กลุ่มแม่บ้านสามารถทำยอดขายได้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อปี โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่กว่าร้อยละ 75 และใช้แรงงานของตนเอง โดยทั่วไปแล้วกลุ่มแม่บ้านมีขีดความสามารถจำกัด ความสำเร็จของกลุ่มมาจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ การตลาดและความร่วมมือของสมาชิก สถานภาพในปัจจุบันชี้ชัดว่า กลุ่มจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมในด้านการผลิตให้ถูกสุขอนามัย เพื่อเข้าถึงตลาดผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง ให้มีวิสัยทัศน์ในการกำหนดเป้าหมายและความสามารถในการบริหารงานกลุ่ม สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้องค์กรนี้เป็นลู่ทางเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนได้แท้จริง ก็คือจะต้องมีการกระจายผลประโยชน์ภายในกลุ่มให้ทั่วถึง สำหรับหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนนั้น จะต้องพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มที่มีความต้องการอย่างแท้จริงและการลดการช่วยเหลืออย่างซับซ้อน โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ หรือมีการกระจุกตัวของผลประโยชน์ภายใน
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่