บทบาทที่เหมาะสมขององค์กรภาครัฐและเอกชนในการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์
Abstract
สรุป
การสร้างความยั่งยืนของชุมชนโดยอาศัยการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือตนเอง ซึ่งอยู่ในรูปของกลุ่มออมทรัพย์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีรูปแบบการออมทรัพย์ที่เหมาะสม คือ รูปแบบของสหกรณ์ออมทรัพย์ชุมชน ที่เรียกว่า “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน” นั้น องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐหรือภาคเอกชนถือได้ว่ามีบทบาทที่สำคัญที่จะกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการรวมกลุ่มกันอย่างถูกต้อง ในอดีตแต่ละองค์กรต่างก็มีบทบาทและรูปแบบของตนเอง เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของกรมการพัฒนาชุมชน เป็นต้น แต่สุดท้ายแล้วกลุ่มที่พัฒนาจนเกิดความเข้มแข็งสามารถดูแลตนเองได้ มักต้องการให้กลุ่มของตนเองเป็นสถาบันการเงินชุมชนอย่างแท้จริงโดยจะเปลี่ยนรูปแบบของตนเองให้เป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ดังนั้นองค์กรต่างๆ ควรจะนำหลักการเครดิตยูเนี่ยนเข้าไปส่งเสริมจัดตั้งในครั้งแรก เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาให้เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ชุมชน เพราะพัฒนาการกลุ่มออมทรัพย์ก็เหมือนกับการพัฒนาการของชีวิตมนุษย์ เมื่อเริ่มก่อตั้งกลุ่มก็เหมือนอยู่ในวัยเด็กซึ่งจะต้องให้การอนุบาลเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ชั้นประถม เมื่อกลุ่มเติบโตขึ้นก็ควรให้ความรู้เพิ่มเติมเหมือนกับการศึกษาในระดับมัธยม ซึ่งในท้ายที่สุดเมื่อกลุ่มเติบโตเต็มที่ก็จะเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็สามารถดูแลตัวเองได้อย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตามบทบาทขององค์กรต่างๆที่เข้าไปช่วยเหลือนั้นอยู่ในระดับใด
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่