การวิเคราะห์ปัญหาการส่งออกชะลอตัวของประเทศไทยในทศวรรษ 1990

Authors

  • คมสัน สุริยะ
  • ไพฑรย์ วิบูลชุติกุล

Abstract

สรุป

ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 การส่งออกของไทยได้รับผลดีจากการขยายตัวของการนำเข้าของการนำเข้าของตลาดที่สำคัญ รวมทั้งการขยายตัวของส่วนแบ่งการตลาดอันได้รับการขับเคลื่อนมาจากคุณภาพสินค้าที่ดีขึ้นและความหลากหลายของสินค้าที่มีมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อการพัฒนาการส่งออกเข้าสู่ต้นทศวรรษ 1990 ค่าจ้างแรงงานที่แท้จริงที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพของแรงงาน เป็นผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของไทยเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งลดต่ำลง และได้ฉุดให้การส่งออกของไทยชะลอตัวลงด้วยปัจจัยที่มีส่วนก่อให้เกิดการชะลอตัวของการส่องออกของไทยนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีมาตรการกีดกันทางการค้าและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญอีกด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้เริ่มมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990  ภายหลังการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1994 ต่อมาในปี1996 การส่งออกของไทยเปิดความชะงักงันขึ้นเป็นเพราะปัจจัยที่ต่อเนื่องมาจากช่วงต้นทศวรรษ 1990  คือ มาตรการกีดกันทางการค้าและการตอบโต้ทางการค้า การลดลงของอุปสงค์ของแผงวงจรไฟฟ้าและยางพาราและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NAFTA เป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังมีประเด็นของการเกิดภัยพิบัติ การปิดโรงงานเนื่องจากประเด็นของการเกิดภัยพิบัติ การปิดโรงงานเนื่องจากสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด รวมไปถึงกลยุทธ์ทางการค้าคู่แข่ง เป็นปัจจัยที่ประกอบกันเข้าและก่อให้เกิดความชะงักงันในการส่งออกในปี 1996 และนอกจากนั้นอาจจะมีประเด็นของการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาร่วมด้วย

Downloads