พฤติกรรมการส่งผ่านราคากุ้งกุลาดำระหว่างตลาดค้าส่งโตเกียวกับตลาดผู้คัดบรรจุในประเทศไทย

Authors

  • ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์
  • อารี วิบูลย์พงศ์

Abstract

สรุป

            โดยสรุปแล้วเราสามารถกล่าวได้ว่า long – run price relationship ทั้งในรูป forward price transmission และ backward price transmission มีอยู่จริง ซึ่งทำให้สามารถยืนยันได้ว่า short – run price relationship ทั้งในรูป forward price  transmission และ backward price transmission ก็มีอยู่จริงด้วย แต่ประสิทธิภาพการส่งผ่านราคากุ้งกุลาดำในระยะยาวจากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นโดยเปรียบเทียบแล้ว ยังน้อยกว่าการส่งผ่านราคากุ้งกุลาดำในระยะยาวจากตลาดค้าส่งประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย ซึ่งในกรณีของการส่งผ่านราคาจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยหรือ long – run backward price transmission โดยทางสถิติแล้วถือว่ามีประสิทธิภาพเต็มที่ ซึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ส่วนความเสี่ยงหรือความผันผวนของราคานั้นไม่เป็นตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดราคาไม่ว่าจะเป็นจาก long – run forward price transmission หรือ long – run backward price transmission ก็ตาม สำหรับในระยะสั้นแล้วประสิทธิภาพการส่งผ่านราคายังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าในการส่งผ่านราคาในระยะยาว แต่ยังคงเป็นที่น่ายินดีว่าประสิทธิภาพการส่งผ่านราคาจากตลาดค้าส่งในประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยในระยะสั้น ก็ยังคงสูงกว่าประสิทธิภาพการส่งผ่านราคาในระยะสั้นจากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาของ Ling et al. (1998) ประสิทธิภาพการส่งผ่านราคาในระยะสั้นจากราคาในญี่ปุ่นมายังประเทศไทยกลับมีแนวโน้มลดลง สำหรับประสิทธิภาพการส่งผ่านราคาในระยะยาวจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยในช่วงประมาณ 1993 – 1997 นั้น มีแนวโน้มสูงขึ้นและเข้าใกล้ 1 มากขึ้น ยกเว้นกุ้งกุลาดำขนาด 26 – 30 ตัวต่อปอนด์ ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย สำหรับการปรับตัวเมื่อเกิด shock ขึ้นมานั้น speed ของการปรับตัวมีแนวโน้มลดลงในสมการ short – run  backward price transmission สาวนสาเหตุของการลดลงดังกล่าวนั้นอยู่นอกเหนือขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้

Downloads