บทบาท ปัญหา และการปรับตัวของสหกรณ์ออมทรัพย์ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน
Abstract
สรุป
นับตั้งแต่ประเทศไทยได้ก่อตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกขึ้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาร่วม 49 ปี แม้ว่ายังไม่ประสบความสำเร็จสูงสุดเท่าที่ควร แต่ก็นับได้ว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ได้ประสบความสำเร็จมากกว่าประเภทอื่น อย่างไรก็ตามการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์นับวันจะยิ่งซับซ้อนยุ่งยากกว่าในอดีตที่ผ่านมา จากการที่ประเทศไทยยอมรับพันธกรณี ข้อ 8 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF) ที่ผ่อนคลายการปริวรรตเงินตรา การพยายามผลักกันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาคอินโดจีน โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์กลางวิเทศธนกิจ (Bangkok International Banking Facilities หรือ BIBF) เป็นผลทำให้การนำเงินเข้าออกประเทศหรือเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น ฯลฯ ทำให้ประเทศไทยต้องเปิดเสรีธุรกิจการเงินมากขึ้นและจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย มีผลทำให้การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินอย่างรวดเร็ว จนยากแก่การพยากรณ์และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยทำให้เกิดการแข่งขันขึ้นอย่างรุนแรงในระบบการเงิน
สหกรณ์ออมทรัพย์แน่นอนในฐานะที่เป็นสถาบันการเงินประเภทหนึ่งแม้จะไม่อยู่ในฐานะที่จะไปแข่งขันกับสถาบันการเงินอื่น เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ ย่อมไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ ยิ่งในยุคของการเงินไร้พรมแดนที่ธุรกิจการเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลาและจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริหารจะต้องเป็นมืออาชีพ เพื่อความอยู่รอดของสหกรณ์ออมทรัพย์คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ออมทรัพย์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ กำหนดนโยบายวางแผนการบริหารการจัดการ การวางแผนงานโดยยึดหลักโครงการแต่ละโครงการจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการติดตามผลงาน ตืดตามข้อมูลข่าวสารทันกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ประเมินผลงาน ปรับปรุงแก้ไข หาจุดอ่อนจุดเด่น ปัญหา อุปสรรค มีระบบควบคุม ตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายว่าไม่มีการทุจริต การบริหารมีเอกภาพมีทีมงานที่เป็นเอกภาพด้วย รัฐบาลสามารถใช้ระบบสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การกระจายได้และความเป็นธรรมสู่ชนบท โดยการใช้สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นแหล่งเงินกู้ให้กับสหกรณ์ประเภทต่างๆ และรัฐบาลให้เงินกู้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ไปเพื่อการนี้ กำหนดระยะเวลาคืนเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แน่นอน การดำเนินการเช่นนี้รัฐบาลยังได้เงินต้นและดอกเบี้ยคืนด้วย จะทำให้วงจรวัฏจักรของระบบสหกรณ์มีประสิทธิภาพและสามารถให้ความช่วยเหลือกันในกลุ่มสหกรณ์ประเภทต่างๆ จะทำให้เกิดความร่วมมือกันในท้องถิ่นชนบทตามอุดมการณ์ของสหกรณ์ และเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในอันที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท ส่งเสริมการออม กระจายรายได้ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้นในที่สุดจะส่งผลดีต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวม
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่