บทบาทของธุรกิจสะสมทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนภาคเหนือ

Authors

  • อารีย์ เชื้อเมืองพาน

Abstract

สรุป

            ในระยะเวลาที่ผ่านมาชาวบ้านในชุมชนได้อาศัยพึ่งพาเงินทุนจากแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูง การกู้เงินดังกล่าวชาวบ้านจะอยู่ในฐานะลูกค้า มิได้มีส่วนรวมในการเป็นเจ้าของและมิได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการหรือในการตัดสินใจ ผลที่ได้รับคือความยากจนของชาวบ้านยังคงมีอยู่ สภาพชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไปจากสังคมที่เคยเอื้ออาทรซึ่งกันและกันกลายเป็นสังคมที่มีแต่ความแก่งแย่งแข่งขัน จากสภาพปัญหาดังกล่าว ภาครัฐและภาคเอกชนได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือโดยการจัดตั้งกลุ่มสะสมทุนในแต่ละชุมชน ซึ่งชาวบ้านจะเป็นผู้ร่วมกันก่อตั้งและชาวบ้านเองจะเป็นผู้ดำเนินการ การจัดตั้งกลุ่มสะสมทุนจะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนได้ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ เป็นจุดเริ่มต้นที่ชาวบ้านได้ร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อชาวบ้านมีความสมัครสมานสามัคคีกันอย่างแน่นแฟ้นแล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนก็จะง่ายขึ้น แต่กลุ่มสะสมทุนที่จัดตั้งขั้นมีส่วนหนึ่งที่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอีกส่วนหนึ่งที่ล้มเลิกไปหรือไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ และจากผลการศึกษาจะพบว่ากลุ่มสะสมทุนที่จัดตั้งขึ้นไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตามจะส่งผลกระทบที่ดีแก่ชุมชน ผลกระทบที่ได้รับขั้นแรกคือ ความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน เมื่อคนในชุมชนมีการรวมตัวกันอย่างมั่นคงแล้วมักจะได้รับเงินทุนช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกซึ่งสามารถนำเงินทุนดังกล่าวมาพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ให้แก่ตนเอง กลุ่มสะสมทุนบางกลุ่มที่เข้มแข็งแล้วยังได้จัดสรรผลประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอีกด้วย ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่าคนในชุมชนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตนเองได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นที่จะต้องให้รัฐเข้าไปสนับสนุนในด้านเงินลงทุน เพียงแค่คนในชุมชนจะต้องหันมาร่วมมือกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างจริงใจและจริงจังเท่านั้นพอเพราะจากผลการศึกษาจะพบว่ากลุ่มสะสมทุนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะเริ่มจัดตั้งด้วยคนในชุมชนเอง 

Downloads