กระแสพลวัตเศรษฐกิจเชียงใหม่

Authors

  • ประเสริฐ ไชยทิพย์

Abstract

สรุป

ผลจากบทความนี้ ประเด็นคงมีมากมายและคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมกันต่อไป แท้จริงแล้วเรื่องของเมืองเชียงใหม่ในหลายประเด็น หลายท่านเคยทำหรือเคยมีประสบการณ์มาก่อน คงทราบดีกว่าผู้เขียนแน่นอน อย่างไรก็ตามบทความนี้อย่างน้อยแสดงให้เห็นได้ว่าเรื่องของเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ทุกคนหลีกไม่พ้นไม่ว่ายุคสมัยใดก็ตาม การปรับเปลี่ยนในหลายรูปแบบของระบบเศรษฐกิจคงมีอย่างต่อเนื่อง ตราบใดความต้องการ (Needs) ของคนเราไม่สิ้นสุดจากทรัพยากรจำกัด

            จังหวัดเชียงใหม่เองเคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเกือบ 200 ปี ตามประวัติศาสตร์จนกระทั่งยุคเวลาที่ผ่านมาซึ่งอายุคนรุ่นนี้ ภายใต้สภาวะการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจทรัพยากรมากมายได้มีการนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์บำบัดความต้องการของคนเชียงใหม่และแห่งอื่น จังหวัดเชียงใหม่คงไม่กลับไปเป็นเมืองขึ้นของประเทศใดๆอีกในแง่การปกครอง แต่สำหรับโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจนั้นไม่แน่แต่จะเป็นจริงหรือไม่นั้นอยู่ที่ว่าบทบาททางเศรษฐกิจของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่มีการกะทำใดๆทางเศรษฐกิจอย่างถูกต้องหรือไม่

            การฉลอง 700 ปี เชียงใหม่ ทำให้พวกเราภูมิใจเพราะเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ว่าเศรษฐกิจเชียงใหม่ได้เตอบโตมาอย่างเข้มแข็ง เป็นอิสระ การที่จะให้เศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นอิสระเป็นไทยตลอดไป คงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก เพราะมีเงื่อนไขที่จะต้องจัดการแก้ปัญหาอีกหลายประการ อย่างไรก็ตามหนทางการป้องกันตนเองให้หลุดพ้นจากอันตรายนั้น เป็นเรื่องที่ผู้จัดทำนโยบายนำมาปฏิบัติคงต้องกระทำให้ดีที่สุด

            ขบวนการที่เรียกว่า การเปิดตลาดเสรี มองในแง่วิชาการคือ ดำเนินงานเพื่อลดต้นทุน (Costs) ให้ต่ำที่สุด และลดความไม่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในทุกด้าน รวมถึงลดแรงกดดันทางการเมืองด้วยเช่นกัน การปรับตัวภายใต้เศรษฐกิจตลาดเสรีภาคเอกชนได้พยายามดำเนินการอย่างเต็มที่สมควรที่ภาครัฐจะปรับตัวด้วยหรือไม่ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามต้นทุนต่างๆ (Costs) ย่อมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว คำถามจึงมีว่าต้นทุนเหล่านี้กระจายออกไปในภูมิภาคเท่าเทียมกันหรือไม่ ในท่ามกลางบรรดาผู้มีรายได้เท่าเทียมกันหรือไม่ การยอมเลือกทิศทางการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะภาครัฐบาลจากส่วนกลางก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจในระยะยาวด้วยหรือไม่ การที่จังหวัดนี้จะเป็นศูนย์กลางในฝันเพื่อชื่อเสียง เงินตรา ตำแหน่ง และอื่นๆ ของผู้ใดก็ตาม ผู้ที่รับภาระต้นทุนต่างๆ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็คือประชาชนที่เข้ามาอยู่อาศัยไม่ถาวรหรือชั่วคราวในลักษณะต่างๆ นั่นเอง ดังนั้นจากข้อเสนอของบทความที่ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงผลประโยชน์ของกลุ่มชนทางเศรษฐกิจ ไม่ทางตรงหรือทางอ้อมย่อมแสดงออกผ่านทางขบวนการทางการเมือง การที่ภาครับเพิ่มขยายบทบาท (แทนการลดบทบาทเมื่อเปิดเสรีเศรษฐกิจ) และผลักดันให้ธุรกิจภาคแกชนไปสู่ตลาดแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสัญญาณให้เห็นว่าเศรษฐกิจเชียงใหม่กำลังเข้าสู่การแข่งขัน ในเวลาเดียวกันที่ทุกแห่งทั่วโลกก็เปิดเสรีตลาดเช่นกัน เมื่อใดก็ตามหากการดำเนินงานไร้ประสิทธิภาพ การชดเชยระบบเศรษฐกิจย่อมคงอยู่ก็คือ การจ่ายเงินอย่างไร้เป้าหมาย ใช้ทรัพยากรทุกประเภทอย่างสิ้นเปลือง เช่น คำกล่าวของปราชญ์เมืองเหนือที่ว่า “ยามเมื่อป้อแม่ยัง กิ๋นขว้างโบ๊ะ ขว้างบ๊ะ ยามเมื่อป้อแม่ต๋ายละเป๋นมะห่อยนอยจา”

Downloads