สภาวะเศรษฐกิจสังคมเกษตรในเขตชลประทานลุ่มแม่น้ำโขง

Authors

  • ธนรักษ์ เมฆขยาย

Abstract

สรุป

            จากการศึกษาพบประเด็นที่น่าสนใจพบสรุปดังนี้

1. การเกษตรยังคงเป็นอาชีพที่สำคัญของประชากรในพื้นที่ พบว่าร้อยละ 96 ของประชากรประกอบอาชีพการเกษตรควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพนอกการเกษตร การออกไปรับจ้างเกษตรกรอาจไปเป็นบางครั้ง เช่นหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรือไปตลอดปี

2. ข้าวยังคงเป็นพืชหลักควบคู่ไปกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ อันได้แก่ ข้าวเหนียวฤดูแล้ง ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หอมแดงและกระเทียม

3. โครงสร้างของสถาบันครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด อันเนื่องมาจากการอพยพออกจากพื้นที่ ทั้งในลักษณะชั่วคราวและตลอดปี สาเหตุจากการที่เกษตรกรไม่มีโอกาสที่จะหารายได้ในพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์

4. ด้านแหล่งน้ำ มีการกระจายของปริมาณน้ำฝนไม่สม่ำเสมอ สำหรับในเขตชลประทาน ปรากฏว่ามีการใช้น้ำกันอย่างไม่มีประสิทธิภาพ บางครั้งมีน้ำท่วมขังในแปลงเพาะปลูก บางครั้งมีน้ำท่วมขังในแปลงเพาะปลูก บางครั้งไม่มีน้ำทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำเกษตรได้โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ลักษณะเหล่านี้ยิ่งบ่งชี้ถึงความต้องการการวางแผนเกี่ยวกับการใช้ดินและแหล่งน้ำร่วมกัน

5. ในเขตชลประทานประเภทโครงการสูบน้ำพบว่าไม่มีการปลูกพืชในฤดูแล้ง ทั้งๆที่สามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ ทำให้ชี้ชัดว่าสมควรที่จะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างของโครงการชลประทาน การจัดการด้านต่างๆตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร

6. ภาพรวมของพื้นที่ถือครองเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันพื้นที่ป่าไม้ลดลง ลักษณะเช่นนี้ชี้ชัดว่าพื้นที่ป่าไม้ที่เหลืออยู่และสมควรอนุรักษ์ยังคงถูกทำลายและบุกรุกเข้าครอบครองต่อไปอย่างต่อเนื่อง

7. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภาคนอกเกษตรที่มีตัวเลขสูงไม่ได้หมายความว่า ผลิตภาพและรายได้ของภาคเกษตรดีขึ้น

8. การกระจายรายได้ในพื้นที่สำรวจ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างครัวเรือนในชนบทกับในเมืองพบว่าห่างกันมาก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการอพยพ

9. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลด้านดินและน้ำ กระทำด้วยความยากลำบากและความระมัดระวัง อันเนื่องมาจากข้อมูลทุติยถูมิหายาก เอกสารที่หามาได้มีความเชื่อถือต่ำ

Downloads