การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
Abstract
สรุป
แนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นวิธีหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะจะเป็นการประสานผลประโยชน์ระหว่างการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน ในต่างประเทศธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กำลังขยายตัวในอัตราที่สูง และทำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้ประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศหันมาให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างมาก
ถึงแม้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จะมีผลดีอยู่มากมายแต่หากมีการนำไปปฏิบัติใช้อย่างไม่ระมัดระวังอาจสร้างผลเสียให้กับทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนท้องถิ่น ดังนั้นการดำเนินการด้านนี้ควรมีการวางแผนงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน พร้อมทั้งควรได้มีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยซึ่งขณะนี้ทาง ททท. ก็กำลังดำเนินการอยู่
ท้ายสุดการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในประเทศไทยจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ และยังเป็นการยืนยันถึงเจตนาที่แท้จริงของรัฐว่า การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จะเป็นกระบวนการที่จะให้ประโยชน์กับธุรกิจการท่องเที่ยว การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และประชาชนท้องถิ่นไปพร้อมๆกันเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างว่า การพัฒนาและการอนุรักษ์สามารถดำเนินควบคู่กันไปได้ตามแนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่