แบบแผนการบริโภค พฤติกรรมการบริโภคและการประมาณระดับรายได้ที่เหมาะสมสำหรับการใช้จ่ายบริโภคของนักศึกษาที่พักอาศัยภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract
สรุปผลการวิจัย
จากผลที่ได้จากการวิเคราะห์และค้นพบสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
6.1 นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประมาณครึ่งหนึ่งมีความจำเป้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ต้องใช้บริการที่พักอาศัยเอกชนภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ที่มีราคาสูง เนื่องจากความจำกัดของหอพักภายในของหอพักภายในของมหาวิทยาลัยฯ เอง
6.2 นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ส่วนมากแล้วมีพาหนะของตนเองและนิยมใช้รถมอเตอร์ไซต์ ส่วนรถจักรยานและรถยนต์ มีจำนวนน้อยมาก
6.3 รายได้หลักของนักศึกษา ได้แก่ รายได้ประจำเดือนองผู้ปกครอง จากนั้นพบว่านักศึกษาประมาณครึ่งหนึ่งมีรายได้ประจำไม่พอเพียงแก่การใช้จ่ายบริโภค จึงจำเป็นต้องขอเพิ่มจากผู้ปกครองเป็นพิเศษและมีนักศึกษาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นมีรายได้เพิ่มโดยการออกทำงานพิเศษ
6.4 การบริโภคที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของนักศึกษาทั้งหมดได้แก่ อันดับแรก การบริโภคด้านอุปโภคส่วนตัว อันดับที่สอง การบริโภคด้านที่พักอาศัย อันดับที่สาม การบริโภคด้านพาหนะและการเดินทาง อันดับที่สี่ การบริโภคด้านด้านบันเทิงและพักผ่อนหย่อนใจ และอันดับที่ห้า การบริโภคด้านการศึกษา ขณะที่การบริโภคด้านกิจกรรม การบริโภคด้านสุขพลานามัยและการบริโภคด้านการศึกษานอกหลักสูตรมีเพียงเล็กน้อยมากและปรากฏเป็นครั้งคราว ซึ่งหมายความว่าทางมหาวิทยาลัยฯ ได้มีสวัสดิการ และบริการตอบสนองการบริโภคเหล่านี้ของนักศึกษาทั้งหมดอย่างเพียงพอ
6.5 รูปแบบการบริโภคของนักศึกษาที่พักอาศัยภายในและนักศึกษาที่พักอาศัยภายนอกมหาวิทยาลันฯ มีความแตกต่างกันสองประเภทซึ่งได้แก่ การบริโภคด้านอุปโภคบริโภคส่วนตัวและการบริโภคด้านที่พักอาศัย ส่วนประเภทอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกัน
6.6 นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งหมดมีความต้องการบริโภคด้านอุปโภคบริโภคส่วนตัวสูงที่สุด ขณะที่อันดับสองของนักศึกษาที่พักอาศัยภายใน ได้แก่ การบริโภคด้านบันเทิง และพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนนักศึกษาที่พักอาศัยภายนอก ได้แก่ การบริโภคด้านที่พักอาศัย ซึ่งแสดงว่าลักษณะของเกิดความแตกต่างกัน ส่วนพฤติกรรมความต้องการการบริโภคประเภทอื่น ๆ ของนักศึกษาทั้งหมดคล้ายคลึงกัน
6.7 การบริโภคที่ขึ้นอยู่กับรายได้ของนักศึกษาทั้งหมดคล้ายคลึงกันขณะที่การบริโภคที่ไม่ขึ้นอยู่กับรายได้ หรือการบริโภคที่ไม่ขึ้นอยู่กับรายได้ใดใดเลยของนักศึกษาที่พักอาศัยนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งการบริโภคประเภทนี้ได้แก่ ค่าใช้จ่ายบริโภคด้านที่พักอาศัย ส่วนที่ไม่ขึ้นกับรายได้
6.8 นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งหมดมีแนวโน้มโดยเฉลี่ยที่จะใช้จ่ายรายได้รวมทั้งหมดในการบริโภคประเภทต่าง ๆ ทั้งแปดประเภทจนหมดสิ้นแสดงว่านักศึกษาโดยเฉลี่ยมีรายได้เหลือจากระดับการบริโภคจำเป็นน้อยมาก และยังมีนักศึกษาจำนวนมากที่มีรายได้รวมต่ำกว่าระดับการบริโภคจำเป็นสำหรับการทำการศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แห่งนี้ ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้จะต้องประสบปัญหาแบะความยุ่งยากในการศึกษาอย่างแน่นอน
6.9 ระดับรายได้รวมที่เหมาะสมพอเพียงแก่การใช้จ่ายบริโภคในขณะที่ทำการศึกษาอยู่ในสถาบันแห่งนี้ของนักศึกษาที่พักอาศัยภายในมหาวิทยาลัยฯ มีค่าน้อยกว่าระดับค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนดตามกฎหมายขณะที่นักศึกษาที่พักอาศัยภายนอกมหาวิทยาลัยฯ มีระดับรายได้รวมประเภทนี้โดยประมาณเทียบเท่ากับอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ 3 วุฒิปริญญาตรีทีเดียว ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าที่พักอาศัยของทางมหาวิทยาลัยฯ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการบริโภคของนักศึกษา อีกทั้งยังสามารถช่วยให้เกิดการประหยัด การใช้จ่ายบริโภครวมของนักศึกษาโดยประมาณถึงเดือนละ 3,000 บาทต่อหัวหรืออีกนัยหนึ่งคือช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงทุนด้านการศึกษาทางอ้อมของนักศึกษาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่