การประเมินราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ(Warrant Valuation)
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาการประเมินราคาใบสำคัญแสดงสิทธิมีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวรหาราคาของใบสำคัญแสดงสิทธิ ตามแบบจำลอง Black & Scholes ซึ่งประกอบด้วย 3 แบบจำลอง คือ Original Black & Scholes, Dilution Black & Scholes และ Modified Black & Scholes โดยทำการศึกษาใน ใบสำคัญแสดงสิทธิของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 18 หลักทรัพย์ การประเมินความสามารถในการพยากรณ์ของทั้ง 3 แบบจำลอง ใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด, ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดแบบสัมบรูณ์และค่าเฉลี่ยความผิดพลาดแบบยกกำลังสองของราคาที่คำนวณได้จากแบบจำลองกับราคาตลาดของใบสำคัญแสดงสิทธิ
การศึกษาพบว่าแบบจำลอง Original Black & Scholes เมื่อใช้ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานต่อปีที่ได้จากการใช้ราคาปิดรายวันของหุ้นสามัญที่เกี่ยวข้องกับใบสำคัญแสดงสิทธิในช่วง 330 วัน ก่อนหน้าและใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำสามารถพยากรณ์ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิได้ดีที่สุด โดยพิจารณาเปรียบเทียบจากค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดและค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดแบบสัมบรูณ์ของแต่ละแบบจำลองกับราคาตลาดของใบสำคัญแสดงสิทธิ
Abstract
This was a study of warrant valuation. The objective of this study was to use the family of the Black & Scholes models (FBSM) to determine the values of the warrants in the banking and finance and securities sectors in the Stock Exchange of Thailand (SET). The FBSM consisted of the three main models : the Original Black & Scholes models (OBSM), the Dilution Black & Scholes (DBSM) and the Modified Black & Scholes (MBSM). Eighteen warrants in these two sectors were selected. FBSM calculated and market values were compared. The mean percentage error (MPE), the mean absolute percentage error (MAPE) and the mean squares error (MSE) were employed to evaluate the performance of those three Black & Scholes models
The study found that the OBSM with volatility using the 330 daily closing prices of the underlying stocks and the time deposit interest rates under MPE and MAPE criteria gave the best prediction of warrant prices compared with their market prices.
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่