นโยบายการค้าของไทย 2504 – 2544
Abstract
สรุป
นโยบายการค้าของไทยได้มีวิวัฒนาการในเชิงแนวคิดที่ก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ตามระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ การมีส่วนรวมของไทยในตลาดโลกและการเปลี่ยนแปลงของระบบการค้าโลกทั้งทางด้านการแข่งขันและกฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัดใหม่ๆ วิวัฒนาการนี้เริ่มจากการเป็นนโยบายการค้าเพื่อแก้ปัญหาดุลการค้า มาสู่การเป็นมาตรการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม และกลายเป็นกลยุทธ์เพื่อปกป้องและแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าของไทย ซึ่งเริ่มจากการเป็นกลยุทธ์ในเชิงรับ มาสู่กลยุทธ์ในเชิงรุก
อย่างไรก็ตามในช่วงต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีวิกฤตการณ์ทางการเงินเกิดขึ้นที่ส่งผลทำให้เกิดการชะลอตัวและถดถอยทางเศรษฐกิจและการค้า ที่สร้างบรรยากาศของความท้อแท้และกระแสความคิดย้อนหลังไปสู่อดีตที่คิดกันว่าเป็นที่น่าปรารถนากว่ากระแสความคิดเช่นนี้เป็นสิ่งที่เป็นอันตราย เศรษฐกิจและการค้าของไทยจะย้อนหลังไปสู่อดีตมิได้ขณะที่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าไทย ก้าวรุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว แนวนโยบายการค้าจะต้องก้าวหน้าต่อไปอีกขั้นหนึ่ง จากการเป็นกลยุทธ์ในเชิงรุกที่ประเทศไทยมีบทบาทในการสร้างกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อผลประโยชน์ทางการค้าของไทยอย่างยิ่งขึ้นอีกด้วย
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่