เศรษฐศาสตร์พอเพียง : แนวคิดทฤษฎีตะวันออก
Abstract
สรุป
การที่วิชาเศรษฐศาสตร์เกิดขึ้นจากความต้องการมีไม่จำกัดและทรัพยากรมีจำกัดนั้น จริงอยู่ในระดับธรรมดาเท่านั้น เพราะแม้แต่ในพระพุทธศาสนายังกล่าวว่าแม่น้ำเสมอเหมือนตัณหาเป็นไม่มี และการมีทรัพยากรจำกัดทำให้ต้องหาทางเลือกที่จะใช้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ทั้ง 2 ข้อยังไม่ดูไปไกลและกว้างในบริบทที่สูงกว่านั่นคือ ตัณหาสามารถลดโดยสมถะได้และละได้โดยวิปัสสนา การอยู่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน นั้นเพราะไม่รู้ว่า การบริโภคแค่เป็น “มรรค” ไม่ใช่ “ผล” การอยู่ต่อไปเพื่อยังประโยชน์ท่านด้วย การพัฒนาตนคือการลดความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนจนไม่มีตัวตนให้เห็นประโยชน์อีกเป็นระดับที่สูงกว่า การที่มีเศรษฐกิจพอเพียง ไม่แค่เพื่อหลุดพ้นจากพันธนาการของทฤษฏีตะวันตกที่เขาคิดแก้ปัญหาของเขา เหมาะสมในสมัยหนึ่งๆเท่านั้น (จะเห็นได้ว่าแม้ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ จะมีรากฐานมาจากอดัม สมิธ แต่ก็วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันมาเน้นส่วนหนึ่งคือ ทฤษฏีเกมและการคาดการณ์อย่างมีเหตุผล) แต่เป็นการเริ่มศักราชใหม่ที่จะนำเอาหลักปรัชญาตะวันออกไปแสดงกว่าชาวโลกกว่า นี่คือทางออกจากภาวะเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันที่เป็นชาติเล็กๆมีประชากรราว 60 ล้านเทียบกับประมาณ 6000 ล้านคนทั้งโลก และเป็นทางออกของมนุษยชาติในระยะยาวอีกด้วย มรดกไทยที่รักษามานานแล้ว จึงมอบให้แก่โลกได้อย่างทันท่วงที
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่