ทิศทางการวิจัยและหลักสูตรธุรกิจเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเกษตรไทย
Abstract
สรุป
ระบบธุรกิจเกษตรมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงขึ้นโครงสร้างใหม่นี้เป็นโครงสร้างที่อยู่บนพื้นฐานของการเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิต การแปรรูป และการกระจายสินค้าที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในรูปของเครือข่าย และในที่สุดพัฒนามาสู่การรวมตัวในแนวดิ่ง รูปแบบที่ปรับเปลี่ยนมานี้เกิดจากความต้องการของผู้ซื้อ ในอันที่จะควบคุมทั้งปริมาณ และคุณภาพของสินค้าให้ได้ตามที่ผู้บริโภคต้องการ เป็นรูปแบบธุรกิจที่เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ สำหรับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม นั้นสามารถนำรูปแบบการบริหารจัดการดังกล่าวมาปรับใช้ได้เป็นอย่างดี
ความซับซ้อนของระบบธุรกิจและการแข่งขันอย่างรุนแรง เรียกร้องให้ระบบธุรกิจต้องปรับตัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความแตกต่างหลากหลายได้มากยิ่งขึ้น ในสภาวะเช่นนี้ระบบธุรกิจเกษตรของไทยต้องการการสนับสนุน ในหลายๆด้านซึ่งรวมถึงนโยบายที่เกื้อหนุนการลงทุนและด้านวิชาการ สำหรับในปัจจุบันนี้พบว่างานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ในระดับนโยบายมหภาคยังมีไม่เพียงพอ ส่วนงานวิจัยแนวลึกด้านเศรษฐศาสตร์การจัดการในระดับรายอุตสาหกรรม รายภาค หรือเฉพาะปัญหาอันจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแผนกลยุทธ์ยิ่งมีความจำกัดมากกว่าระดับนโยบาย ถ้าประเทศไทยมุ่งหวังที่จะสร้างขีดความสามารถให้แก่ธุรกิจเกษตรที่จะแข่งขันได้ในตลาดโลกในสหัสวรรษใหม่แล้ว เป็นที่แน่ชัดว่าเราเกือบจะไม่มีความรู้ทางเทคโนโลยีที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งในด้านการจัดการเกือบทุกแง่มุม นักเศรษฐศาสตร์ควรหันมาให้ความสนใจต่อปัญหาเศรษฐกิจการจัดการอย่างจริงจัง และสถาบันการศึกษาควรเร่งพิจารณาหลักสูตรธุรกิจเกษตร เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถเชิงศาสตร์และศิลป์ให้เพียงพอ ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรของไทยเป็นที่พึ่งของประเทศไทยได้อย่างแท้จริงทั้งปัจจุบันและอนาคตต่อไป
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่