วิกฤตการณ์สถาบันการเงินไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
Abstract
สรุป
สถาบันการเงินเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพราะเป็นตัวกลางในการระดมเงินออมจากประชาชนและนำเงินออมที่ระดับได้มาจัดสรรให้หน่วยธุรกิจที่ต้องการเงินทุนนำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เช่น มีการจ้างแรงงานเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเกิดการกระตุ้นก่อให้เกิดการลงทุนในภาคการผลิตที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น หากสถาบันการเงินของประเทศมีความเข้มแข็ง การทำหน้าที่ด้านการระดมเงินออมและกรกระจายเงินออมก็จะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หน่วยธุรกิจก็จะได้รับการสนับสนุนเงินทุนอย่างต่อเนื่อง หากสถาบันการเงินวิกฤตขึ้นหน่วยธุรกิจที่พึ่งพาเงินทุนจากสถาบันการเงินเหล่านี้ย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลกระทบไปถึงภาคแรงงานและภาคการผลิตที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
สถาบันการเงินในประเทศไทยเองก็วิกฤตการณ์มาโดยตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศบางช่วงมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูง บางช่วงก็ประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สาเหตุที่สำคัญคือสถาบันการเงินไม่มีความเข้มแข็ง ซึ่งจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะพบว่า ต้นตอของปัญหาคือ การออกกฎหมายที่ไม่รัดกุมทำให้ผู้บริหารอาศัยจุดอ่อนของกฎหมายแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง รวมถึงหน่วยงานที่กำกับดูแลจาดความเด็ดขาดในการเข้าไปแก้ไขปัญหา นอกจากนี้รูปแบบในการแก้ปัญหายังเป็นรูปแบบเดิมซึ่งส่งผลทำให้รัฐต้องแบกรับภาระความเสียหายที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้หากจะแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์สถาบันการเงินอย่างแท้จริงต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้มีความรัดกุมมากกว่าที่เป็นอยู่ รวมถึงการปรับปรุงองค์กรหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น รวมถึงต้องรู้เท่าทันผู้บริหารสถาบันการเงินแต่ละแห่งด้วย หากทุกอย่างยังอยู่ในรูปแบบเดิมวิกฤตการณ์สถาบันการเงินย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่