การผลิตของภาคเหนือตอนบนในช่วงทศวรรษ 1990
Abstract
สรุป
เมื่อได้ทำการพิจารณาลักษณะและบทบาทของการผลิตในเขตภาคเหนือตอนบนแล้วสามารถสรุปประเด็นสำคัญต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. การเจริญเติบโตของภาคเหนือตอนบนมีลักษณะสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของประเทศ ทั้งนี้เมื่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น นั้นหมายถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้และการใช้จ่ายโดยรวมของประเทศซึ่งจะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศที่จะไหวเข้าสู่ภูมิภาคแห่งนี้อันจะเป็นการช่วยเพิ่มอุปสงค์ในสินค้าและบริการและกระตุ้นการผลิตประเภทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวให้เกิดการขยายตัว อีกทั้งยังช่วยดูดซับอุปทานส่วนเกินบางส่วนของการผลิตในสาขาการเกษตร ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและรายได้ของภูมิภาคเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
2. การผลิตสาขาการบริการถือได้ว่าเป็นโครงสร้างหลักของการผลิตในเขตภาคเหนือตอนบนนี้อีกทั้งยังมีศักยภาพสูงสุดในการที่จะรับรองและสนับสนุนให้เกิดการเจริญเติบโตแก่ภูมิภาค รองลงมาได้แก่การผลิตในอุตสาหกรรมที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเริ่มเข้าสู่จุดอิ่มตัวในที่สุดเนื่องจากต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านอุปทานของปัจจัยการผลิตและอุปสงค์ภายในภูมิภาค ขณะที่การผลิตในสาขาเกษตรกรรมเริ่มมีบทบาทลดลง เนื่องจากพื้นที่เพื่อการเกษตรบางส่วนถูกเปลี่ยนไปใช้ในการผลิตอุตสาหกรรมและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยนั้นเอง
3. การผลิตในสาขาเกษตรกรรมของภาคเหนือตอนบนยังมีความผันผวนและแปรปรวนตามสภาพภูมิอากาศภายในภูมิภาคอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ได้จากการผลิตประเภทการกสิกรรมซึ่งต้องอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติในการผลิตจึงไม่สามารถควบคุมอุปทานของผลผลิตได้ ส่งผลให้ระดับราคาของผลผลิตในสาขาเกษตรกรรมนี้ขาดเสถียรภาพตลอดเวลา
4. การผลิตประเภทสินค้าอุตสาหกรรมและการก่อสร้างจัดไดว่าเป็นการผลิตที่มีความสำคัญอย่างมากแก่สาขาอุตสาหกรรมโดยที่การผลิตสินค้าประเภทอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่มุ่งเน้นปัจจัยการผลิตด้านแรงงานเป็นหลักเริ่มอิ่มตัวและถดถอยลงเนื่องจากอัตราค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นไม่สามารถส่งออกไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ ส่วนการผลิตประเภทการก่อสร้างมรการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดอุปทานส่วนเกินจำนวนมากขณะที่อุปสงค์ของที่อยู่อาศัยเกิดการชะงักงันเนื่องจากการถดถอยของการผลิตประเภทสินค้าอุตสาหกรรม และปัจจัยทางด้านสถาบันในการอำนวยสินเชื่อส่งผลให้เกิดการถดถอยและหดตัวอย่างรุนแรงในการผลิตประเภทนี้
5. การผลิตประเภทที่มีบทบาทสำคัญในสาขาการบริการ ได้แก่ ประเภทการค้าส่งและค้าปลีก และประเภทบริการอื่นๆ โดยที่การค้าส่งและค้าปลีกทำหน้าที่ในการสนับสนุนช่วยเหลือในการกระจายผลผลิตจ่างๆในสาขาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมภายในภูมิภาคซึ่งจะมีลักษณะแนวโน้มและทิศทางการเจริญเติบโตตามอุปสงค์โดยรวมของประเทศ ส่วนการผลิตประเภทบริการอื่นๆ ทำหน้าที่ในการรองรับและให้บริการในด้านต่างๆแก่นักท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการเจริญเติบโตของการผลิตประเภทนี้จึงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไหลเข้าสู่ภูมิภาคแห่งนี้
Downloads
Issue
Section
License
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่