Publication Ethics

จริยธรรมของการเผยแพร่ผลงาน (Publication Ethics)

 

ในการรับพิจารณาประเมินบทความที่จะมีการเผยแพร่ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นั้น ทางกองบรรณาธิการจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาคุณภาพของบทความทุกบทความ อย่างน้อย 2-3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชานั้น ๆ หรือใกล้เคียงกับเนื้อหาของบทความ อีกทั้งจะต้องไม่เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย กับผู้เขียนบทความนั้น

         การประเมินดำเนินการในรูปแบบ double blinded คือ มีการปกปิดชื่อของผู้เขียนบทความแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับมอบหมายให้ประเมินบทความนั้น ๆ

         ผลการประเมินมี 3 แบบ คือ 1. ผ่าน (ยอมรับการตีพิมพ์บทความ) 2. ขอให้มีการแก้ไขก่อนตีพิมพ์ 3. ไม่ผ่าน (ส่งใหม่เพื่อประเมินอีกครั้ง) ดังนั้น เพื่อให้การเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐาน การตีพิมพ์นานาชาติ ทางกองบรรณาธิการจึงได้กำหนดจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการไว้ สำหรับการดำเนินงานของวารสาร ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์ อย่างเคร่งครัด ตามบทบาทหน้าที่ ดังนี้

 

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ (Editer Ethic)

 

  1. พิจารณาและตรวจสอบของบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับการพิจารณาเผยแพร่ลงในวารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทุกบทความ โดยพิจารณาเนื้อหา

บทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร

  1. กำหนดผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน โดยเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหาบทความที่ส่งเข้ามาเพื่อรับการ

เผยแพร่

  1. ตรวจสอบคุณภาพบทความในทุกกระบวนการประเมินและคุณภาพบทความก่อนการเผยแพร่ผ่าน

ระบบ ThaiJO

  1. ในการพิจารณาบทความทุกคร้ังโดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้เขียนในด้านเชื้อชาติเพศ

ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้เขียน

  1. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน หรือผู้ทรงคุณวุฒิ และไม่นำบทความหรือผลงานทาง

วิชาการไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจรวมไปถึงนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง

  1. บรรณาธิการจะต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความที่ผู้เขียนได้สั่งหมอบหมายวารสารและผล

ประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ

  1. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด

 

บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิ (REVIEWER ETHIC)

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทาง

วิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์หรือผลกำไรจากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้รับหมอบหมาย

ให้ทำการประเมิน

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักรู้ว่าตนเอง มีความรู้ความเข้าใจความเชี่ยวชาญ ในเนื้อหาของผลงานวิชาการ

ที่ได้รับหมอบหมายให้ทำการประเมินอย่างแท้จริง

  1. หากผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาตรวจสอบแล้วพบว่าบทความที่รับหมอบหมายให้ประเมินนั้น เป็นบทความที่

คัดลอกผลงานชิ้นอื่นๆ หรือมีเนื้อหาใกล้เคียงกับผลงานอื่นๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องแจ้งให้บรรณาธิการ

ทราบทันทีให้ตรวจสอบความถูกต้องก่อนการเผยแพร่

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องรักษาระยะเวลาประเมิน ตามกรอบเวลาประเมินที่กำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

บทบาทหน้าที่ของผู้เขียน (Author ETHIC)

  1. ผู้เขียนบทความ ต้องไม่คัดลอกหรือหยิบยกเอาเนื้อหา (โดยไม่อ้างอิง) จากบทความอื่น มาเป็นส่วนหนึ่งของบทความที่ส่งมาขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ทั้งนี้วารสารฯ กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงานไม่เกินร้อยละ 20 จากการตรวจสอบโปรแกรม CopyCat ของเว็บไซต์ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai Journal Citation Index Centre : TCI)
  1. ผู้เขียนบทความต้องส่งบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ประเมินบทความ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  1. ผู้เขียนบทความที่มีรายชื่อปรากฏในบทความ จะต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำบทความหรือมีส่วนร่วมในการทำวิจัยจริง (หากตรวจสอบพบว่า ผู้เขียนบทความหรือผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำบทความ วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการถอดถอนบทความดังกล่าวออกจากการเผยแพร่โดยทันที)
  1. ผู้เขียนบทความจะต้องจัดทำบทความที่มีองค์ประกอบหรือหัวข้อตามรูปแบบ (Template) ของบทความในการ
    เตรียมต้นฉบับตามประเภทบทความของวารสารฯ
  2. ผู้เขียนบทความเมื่อมีการหยิบยกผลงานของผู้อื่นมาไว้ในบทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์ จะต้องมีการอ้างอิงทั้งในส่วนเนื้อหา (citation) และในส่วนรายการเอกสารอ้างอิง (บรรณานุกรมแบบRomanization) ที่ตรงกันและมีรูปแบบที่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนด ในการเตรียมต้นฉบับบทความให้ผู้อ่านสามารถสืบค้นเพิ่มเติมแหล่งที่มาของข้อมูลได้ (หากมีการฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธิ์เนื่องจากไม่อ้างอิง จะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว วารสารฯจะไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น และจะดำเนินการถอดถอนบทความออกจากการเผยแพร่ของวารสารฯ ทันที
  3. ผู้เขียนบทความต้องตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งแหล่งเนื้อหาและความน่าเชื่อถือของเจ้าของบทความที่นำมาอ้างอิง รวมถึงไม่นำเอาเอกสารที่ถูกถอดถอนแล้วมาใช้อ้างอิง
  4. ผู้เขียนบทความต้องปรับแก้ไขบทความตามที่ผู้ประเมินบทความและบรรณาธิการแนะนำให้แล้วเสร็จและส่งกลับมาภายในเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนด วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่จะเลื่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปหรืออาจถอดถอนออกจากการตีพิมพ์ของวารสารฯ โดยไม่คืนเงินที่ชำระแล้ว
  5. ผู้เขียนบทความควรระบุชื่อแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี) และควรระบุผลประโยขน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
  6. ผู้เขียนบทความต้องคำนึงถึงจริยธรรม ไม่รายงานข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน หรือการตกแต่งข้อมูลให้ผิดจากผลการศึกษา หรือวิจัยที่ได้เพื่อให้สอดคล้องกับข้อสรุป
  7. ผู้เขียนที่มีข้อมูลส่วนตัว (Private Data) หรือข้อมูลที่เจ้าของไม่ประสงค์เปิดเผยต่อสาธารณะมาใช้ประกอบในบทความ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนการนำมาใช้ (หากมีการฟ้องร้อง การละเมิดลิขสิทธิ์ จะถือว่าเป็นความผิดของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว วารสารฯ จะไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น และจะดำเนินการถอดถอนบทความออกจากการเผยแพร่ของวารสารทันที)
  8. ผู้เขียนบทความที่เขียนบทความเกี่ยวกับการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ ควรมีหนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมของหน่วยงาน แสดงต่อบรรณาธิการ หรือเขียนสอดแทรกไว้ในส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความ