การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการส่งออกของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • Sathit Jintarasamee Doctor of Philosophy in Public Administration Program, Eastern Asia University
  • Pranod Nantiyakul Eastern Asia University

Keywords:

การบริหารจัดการ, การส่งเสริมการส่งออก, การท่าเรือแห่งประเทศไทย

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการส่งออกของการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการส่งออกของการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (3) ยุทธศาสตร์ของแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการส่งออกของการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้ใช้รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสานโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ บุคลากรบางส่วนของการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้บริการและสนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้แก่ผู้ส่งออกโดยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความสุจริตมากเท่าที่ควร อีกทั้งการท่าเรือแห่งประเทศไทยขาดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญคือ บุคลากรของการท่าเรือแห่งประเทศไทยควรให้บริการเครื่องมือเครื่องใช้แก่ผู้ส่งออกโดยอยู่บนพื้นฐานของความสุจริต และ (3) การท่าเรือแห่งประเทศไทยควรกำหนดยุทธศาสตร์ของแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการส่งออกตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ประกอบด้วย 5 ด้าน เรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ (1) การกำหนดกรอบเวลาที่รวดเร็วและชัดเจน (2) การมุ่งให้บริการเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล (3) การพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานและคุณภาพของบุคลากร (4) การวางแผนและการจัดเตรียมบุคลากรให้เพียงพอ และ (5) การประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง ครอบคลุม และทั่วถึง

Downloads

Published

2017-12-08

Issue

Section

บทความวิจัย