การบริหารกำไรแบบเชิงฉกฉวยโอกาส หรือ เชิงผลประโยชน์ กรณีศึกษาบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Keywords:
การบริหารกำไร,ขนาดของบริษัท, รายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจผู้บริหาร, โครงสร้างผู้ถือหุ้น, การตรวจสอบบัญชี, ขนาดของบริษัท, กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน, การบริหารกำไรในเชิง ฉกฉวยโอกาส, การบริหารกำไรในเชิงผลประโยชน์Abstract
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการบริหารกำไรที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหารกับกำไรในอนาคตเป็นกำไรเชิงฉกฉวยโอกาส (opportunistic earning management)หรือกำไรเชิงผลประโยชน์ (benefit earning management) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2555 - 2559 จำนวนทั้งสิ้น 615 ปีบริษัท ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลแบบ Panel จากระบบฐานข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ออนไลน์ ใช้การวิเคราะห์ Panel Least Square แบบ Fixed Effect ผู้วิจัยได้ใช้ตัวแบบ ที่ได้รับการยอมรับ 4 ตัวแบบ ในการวัดค่าการบริหารกำไรผ่านรายการคงค้าง ได้แก่ วิธีของ Jones (1991) วิธีของ Dechow, Sloan & Sweeney (1995) วิธีของ Kasznik (1999) และวิธีของ Dechow, Richardson & Tuna (2003) จากการศึกษาพบว่า วิธีของ Kasznik (1999) มีแนวโน้มที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ดีที่สุดผู้วิจัยจึงเลือกวิธีดังกล่าวสำหรับกาวัดค่าการบริหารกำไรผ่านรายการคงค้างและใช้แบบจำลองของของ Subramanyam (1996) วัดค่าความสามารถในการทำกำไรในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงกำไรสุทธิของปีปัจจุบันกับกำไรสุทธิของปีก่อนหารด้วยสินทรัพย์รวมและใช้โครงสร้างผู้ถือหุ้น, การตรวจสอบบัญชี, ขนาดของบริษัท และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นตัวแปรควบคุม จากผลการวิจัยพบว่าการบริหารกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นการบริหารกำไรเชิงฉกฉวยโอกาส เนื่องจากรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของฝ่ายบริหารมีผลในทิศทางตรงกันข้ามกับการทำกำไรในอนาคต