รูปแบบนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนางาน ของศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ

Authors

  • ปรีชา ชื่นชนกพิบูล หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ประกอบ คุณารักษ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน, การบริหารงาน, การบริหารเพื่อการพัฒนาโรงเรียน, administration for school development, innovation model

Abstract

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาสภาพการการบริหารงานศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนโดยพัฒนารูปแบบนวัตกรรม การบริหาร และตรวจสอบรูปแบบนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนางาน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอ ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาสภาพ การบริหารงานโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจำนวน 274 อำเภอ 5 ภาค พัฒนา แบบสอบถามใช้ถามความเห็นผู้เชี่ยวชาญ 17 คนโดยวิธีเดลฟาย เพื่อร่างรูปแบบนวัตกรรมการบริหาร และเสนอ ร่างรูปแบบนวัตกรรมเพื่อตรวจสอบและยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คนโดยวิธี ประชุมกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอในปัจจุบันได้นำเอาบริบทในด้าน ต่างๆ ไปใช้ในการบริหารจัดการให้การศึกษา ในระดับมาก (2) รูปแบบนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนางาน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ มีองค์ประกอบได้แก่ การบริหารบริบท มีกระบวนการการบริหาร ประกอบด้วย การวิเคราะห์กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การวิเคราะห์ชุมชน สังคม วัฒนธรรมที่อยู่ในเขตพื้นที่ รับผิดชอบ การบริหารและการสร้างเครือข่ายในการจัดการศึกษา และการบูรณาการ การบริหารระบบ มีกระบวนการ วางแผน การสรรหาทรัพยากร และงบประมาณให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการประสานงานให้เกิดกิจกรรม มีการประเมินผลงานและติดตามผลการปฏิบัติงาน (3) การบริหารบุคคล ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยึดหลัก ธรรมาภิบาล มีการกระจายอำนาจ ปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดสมรรถนะและวางแผนการพัฒนา บุคลากรอย่างต่อเนื่อง ผู้รับบริการมีความมุ่งมั่นในการเรียนและใช้นวัตกรรมอย่างสมบูรณ์และถูกต้อง ผู้เชี่ยวชาญ เห็นชอบกับรูปแบบนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนางานศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ว่ามีความ เหมาะสมถูกต้อง

 

The Administration Innovation Model for Functional Development of District Informal Education Service Centers

This study aims to examine the administration of the service centers for non-formal education outside the school districts on areas namely: (1) the present state of the administration, (2) the development of an innovative model and, (3) the suitability of the innovative model using the mixed-method measure. The results showed that: (1) the administration implementation was at high level on contexts of legal, social, cultural, consortium and networking, and integration in managing the provision of education; (2) the innovative model consisted of the administration using different contexts and the administration of systems including the planning process for the acquisition of resources, educational materials and equipment; and budgeting for the target groups, using co-ordination for the provision of educational activities, evaluation, monitoring and feedback; (3) the personnel administration including the administrators have the right vision using good governance principle, empowering, following the sufficiency economy practices, and developing personnel competencies for students to learn attentively and able to use educational innovation correctly.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย