การพัฒนานโยบายสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร

Authors

  • สืบพงศ์ สุขสม หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อิมรอน มะลูลีม หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

Keywords:

ยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม, ตัวแบบการพัฒนาสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพมหานคร, mental strategy, the model of environmental development, bangkok metropolitan

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักและยืนยันผลของการวิจัยด้วยการวิจัยเชิง ปริมาณ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า (1) ตัวแบบใดมีความเหมาะสมในกระบวนการนโยบายเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม ของกรุงเทพมหานครให้ดียิ่งขึ้น (2) ปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย และ (3) ปัจจัยที่เป็นปัญหาและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร การเก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบาย สิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร จำนวน 17 คน และใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 560 คนโดยการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรในกรุงเทพมหานครตามสูตรของ ทาโร ยามาเน ใช้หลักเหตุผล เชิงตรรกะ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวแบบด้านการจัดการ เหมาะสม ที่จะใช้อธิบายกระบวนการนโยบายสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร (2) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ของกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน คือการบริหารงานของกรุงเทพมหานครเอง อำนาจในการ บริหารและการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ และ (3) สิ่งแวดล้อมของ กรุงเทพมหานครเสื่อมโทรมลงเกิดจากปัญหาปัจจัยพื้นฐานของเมืองที่จะต้องได้การสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง และปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน

 

The Environmental Policy Development of Bangkok Metropolitan Administration

The purpose of this research was to find (1) a suitable model to use for better environmental policy formulation and implementation process of Bangkok Metropolitan Administration (2) factors that were capable of bringing the achievement of environmental policy implementation, and (3) factors that can create negative impact to the environment of Bangkok Metropolitan area. The main methodology of this research was qualitative research and used quantitative research to confirm the reliability of the result. This research gathered all the information from in-depth interviews with 17 experts in environmental policy of Bangkok Metropolitan Administration and also from 560 questionnaires of the concerned people. The result of this research was that (1) The Management Model is a suitable model to use for developing environmental policy formulation and implementation process of Bangkok Metropolitan Administration. (2) The administration of Bangkok Metropolitan Administration, power of administration and legal control, community’s development and sustainability are factors that help develop the environment of Bangkok Metropolitan for better living and as a sustainable city. (3) The deterioration of the environment of Bangkok Metropolitan is caused by the problem of basic infrastructure o f the city and people’s participation.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย