รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

Authors

  • กล้าศักดิ์ จิตต์สงวน หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปิยพงษ์ สุเมตติกุล หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ไพฑูรย์ สินลารัตน์ หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารโรงเรียน, strategic leadership development, leadership, leadership performance

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามกรอบแนวคิดของ DuBrin (1998) (2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามกรอบแนวคิดของ Anderson (2001) วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ(1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (2) ร่างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (3) ตรวจสอบ ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (4) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะ ผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ ผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ ผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความต้องการความจำเป็น ของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่ามีค่าดัชนีความต้องการ จำเป็นเรียงตามลำดับดังนี้ (1) การคิดเชิงปฏิวัติ (2) การรับรู้ ความเข้าใจ การคิดรวบยอดและการคิดอย่างมีกลยุทธ์ (3) การคาดการณ์และการกำหนดอนาคต (4) การกำหนดวิสัยทัศน์ (5) การสร้างสรรค์กลยุทธ์ด้วยจินตนาการ ที่หลากหลาย ซึ่งรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา คือรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกและสร้างกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง ลักษณะของรูปแบบ มีลักษณะเด่นที่เน้นการพัฒนา ความต้องการจำเป็น 2 ด้าน คือ การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกและการสร้างกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง และรูปแบบ มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ของการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด

 

A Model of Strategic Leadership Development for Secondary School Administrators

The purpose of this research were as follows: (1) to study the current and expected states of the strategic leadership performance of the secondary school administrators idea frame of Dubrin(1998) and, (2) to develop a model to improve the strategic leadership performance of the secondary school administrators idea frame of Anderson(2001). Research methodology consists of four phases namely; (1) studying the current and expected states of strategic leadership performance, (2) drafting a model of strategic leadership development, (3) validating the appropriateness and the possibility of a model of strategic leadership development, (4) improving and presenting a model of strategic leadership development for secondary school administrators. Data showed that (1) The current state of strategic leadership performance of secondary school administrators was performed at a high level as a whole and while considering separately, all functions were also performed at a high level (1) strategy creation with various imaginations (2) speculation &future determination and vision determination (3) revolutionary thinking (4) strategy creation with various imaginations. The evaluation of need for strategic leadership performance of secondary school administrators found that the priority need index is as respectively follow; (1) revolutionary thinking (2) recognition, comprehension, concept and strategic thinking (3) speculation &future determination (4) vision determination (5) strategy creation with various imaginations. A model of strategic leadership development for secondary school administrators is conscious process design and strategic change building. The distinctive feature of the model is the focus of 2 priority need development: conscious process change and strategy of change building and the model is valid and the possibility of implementation is at the highest level.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย