รูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย

Authors

  • ศักดา หาญยุทธ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เทศบาล, Government Organization Appropriate, local government

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพปัญหาของรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย และนำเสนอรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ 20 คน แบบสอบถามสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80-1.00 และความเชื่อมั่น0.9873 วิเคราะห์ค่าสถิติโดย ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันไม่มีความอ่อนตัวเพียงพอที่จะปฏิรูป มีพื้นที่ทับซ้อนและภารกิจที่ซ้ำซ้อนกับ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง รูปแบบมี ปัญหาการจัดการในความร่วมมือกัน ระหว่างองค์กร ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัญหาประสิทธิภาพการกระจายอำนาจและความสัมพันธ์กับส่วนกลาง ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ งบประมาณ และนโยบายของรัฐบาล สำหรับรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย ควรมีเพียงรูปแบบเดียวเป็นระบบ 2 ชั้น เรียกชื่อว่า เทศบาล โดยแบ่งเป็น เทศบาลมหานคร และเทศบาลชุมชนเมือง ด้วยการควบรวมองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ เทศบาลนครเป็นเทศบาลมหานคร ควบรวมเทศบาลเมือง เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล ชุมชนเมือง

 

Model for Local Government Organization Appropriate to Thailand Context

This research studies problems of the present model of local government, factors that influence the organizational model of local government and presents an organization model that is suitable to the context of Thailand. The research instruments used are the interview method for 20 qualifiers and questionnaires for the local government with the corresponding index 0.80-1.00 and reliability of 0.9873. Statistics used to analyze data are median, inter-quartile range, mean and standard deviation. The results show that the model of local government organization currently does not have sufficient flexibility for reform, having areas that overlap tasks with the central, regional and local governments themselves. The model itself has the management problems of cooperation between organizations, constituent participation, the distribution of power, and the relationship with the central government. Factors that influence the model of local government consist of the revenues of local budgets and government policies.The proposed model of local government that is appropriate to the context of Thailand should be a model with 2 tiers called “Municipality” divided as “Metropolitan Municipality” and “Community Municipality”, with the merger of the provincial administrative organization and Municipal city to become the “Metropolitan Municipality”. The merger of municipality, municipal district and district administrative organizations becomes the “Community Municipality”.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย