รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้อำนวยการสำนัก สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

Authors

  • มนัส โนนุช นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

พฤติกรรมการบริหาร, หลักธรรมาภิบาล, ผู้อำนวยการ, administrative behavior, good governance, principal, ministry of education

Abstract

วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยแบบผสมผสานฉบับนี้เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการบริหาร ตามหลักธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการสำนักในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย (1) ข้าราชการ จำนวน 301 คนที่ปฏิบัติงานใน 76 สำนักงานส่วนกลางในสังกัด ห้าหน่วยงานหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (2) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ให้ข้อมูลการวิจัยตามวิธีเดลฟาย และ (3) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 14 คน ให้ข้อมูล การวิจัยโดยวิธีการสนทนากลุ่ม เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรม การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการสำนักประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลักดังนี้ (ก) วิธีการพัฒนา พฤติกรรมการบริหารมีกระบวนการซึ่งประกอบด้วยแบบทดสอบมาตรฐานกลั่นกรองพฤติกรรมของผู้อำนวยการ มีหลักสูตรพัฒนา เป็นการเฉพาะสถาบันการพัฒนา ควรเป็นสถาบันอุดมศึกษา (ข) พฤติกรรมการบริหารที่มีความ จำเป็นสูงสุดต้องได้รับการพัฒนาแต่ละด้านมีดังนี้ (1) ด้านหลักนิติธรรม (2) ด้านหลักคุณธรรม (3) ด้านหลักการ มีส่วนร่วม (4) ด้านหลักความโปร่งใส (5) ด้านหลักความรับผิดชอบ (6) ด้านหลักความคุ้มค่า รูปแบบการพัฒนา พฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมภิบาลของผู้อำนวยการสำนักที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม เป็นไปได้ สอดคล้อง และสมประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติ

 

A Model for Developing Administrative Behaviors Regarding the Good Governmence Principle of Division Chiefs in the Ministry of Education

Principal objective of this mixed methodology research was to create a model for developing administrative behavior in accordance with the good governance concepts of the division head officers in the Ministry of Education. Research data derived from three groups of respondents; (1) the sample of 301 civil servants working in 76 division offices under five main bodies of educational administration system at the central level and giving data on administrative behavior of the division head officers, (2) twenty-five experts of academics and the top administrators in the Ministry of Education, and giving data on Delphi Technique of the process and behavior development as needed, and 3) fourteen experts of academics and practitioners, giving data on Connoisseurship Focus Group Discussion The findings revealed as follows (1) A model for developing administrative behavior in accordance with the good governance principles consisted of two components (a) The procedures of administrative behavior development, Would have to comprise the following aspects; administrative behavior standadize test, appropriate curiculum of leadership traning, traning centers would be the higher education institutes located in all regions of the country, and good governance handbook should be produced for educational administrators of all levels. (b) The administrative behavior needed to be developed at the first priority of each principle of good governance consisting (1) Rule of Laws, (2) Morality, (3) Participation, (4) Transparency, (5) Accountability, and (6) Value of Money. Model development for administrative behavior in accordance with good governance of division head officers had been evaluated as propriety, feasibility, congruity and utilitily for implementation.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย