รูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออก
Keywords:
รูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, academic leadership model, basic education administrationAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้บริหาร 310 คน ประกอบ ด้วยผู้อำนวยการ 31 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ 31 คนและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 248 คน โดยวิธี การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่า สถิติพื้นฐาน ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ และหาค่าความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของภาวะผู้นำทาง วิชาการของผู้บริหารที่ได้จากการวิจัยมีองค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสำเร็จของผู้บริหาร บทบาท ผู้นำของผู้บริหาร ทักษะการบริหารของผู้นำ ความสามารถในการบริหารของผู้นำ การบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารหลักสูตรและการสอน การพัฒนาครู การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ การสร้างสัมพันธภาพ ของผู้นำ และการพัฒนานักเรียน ตามลำดับ รูปแบบที่ได้เป็นรูปแบบ Rec-MaLCuSP-TLS
An Academic Leadership Model for Administrators of Basic Education Schools under the Secondary Education Area Offices in the Eastern Region of Thailand
The purposes of this research were to analyse and present the factors for developing an academic leadership model for administrators in basic education institutions under the secondary education eastern area offices. The sample group consisted of 310 administrators acquired by simple random sampling. It included 31 administrators, 31 vice presidents for academic affairs and 248 heads of learning. The research instrument was a three-part questionnaire with 5 level rating scale (reliability = 0.9450). The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, factor loading, and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results designated 10 factors for developing an academic leadership model for administrators in basic education institutions in the following order: successful administrator qualities, leadership role, management skills, leadership qualities, participation and involvement in management, curriculum development, teacher training, creating a learning atmosphere and culture, relationship building of administrator and student development. The model obtained from this research can be identified as ReC-MaLCuSP-TLS model.